เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [3. ติกนิบาต] 5. มาตังคปุตตเถรคาถา
[229] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
พึงใช้สอยที่นอนที่นั่ง
เหมือนงูอาศัยรูหนูอยู่
[230] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
พึงยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
และพึงเจริญธรรมอันเอก1

5. มาตังคปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาตังคบุตรเถระ
(พระมาตังคบุตรเถระเมื่อจะติเตียนความเกียจคร้านและยกย่องการปรารภ
ความเพียร จึงได้กล่าว 3 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[231] ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย
ผู้ละทิ้งการงานด้วยอ้างว่า เวลานี้
หนาวนัก ร้อนนัก เป็นเวลาเย็นนัก
[232] ส่วนผู้ไม่คำนึงถึงความหนาวและความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำหน้าที่ของคนอยู่
ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
[233] เราจะใช้อกฝ่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา
หญ้าแฝก หญ้ามุงกระต่าย
และหญ้าปล้อง พอกพูนวิเวก

เชิงอรรถ :
1 ภาวะแห่งความไม่ประมาท (ขุ.เถร.อ. 1/230/537)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :375 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [3. ติกนิบาต] 7. วารณเถรคาถา
6. ขุชชโสภิตเถรคาถา
ภาษิตของพระขุชชโสภิตเถระ
(พระขุชชโสภิตเถระเมื่อจะบอกความประสงค์ที่ตนมาแก่เทวดา จึงได้กล่าว
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[234] สมณะทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร
ท่านขุชชโสภิตะนี้เป็นรูปหนึ่ง
ในภิกษุเหล่านั้น ผู้ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ
(เทวดา เมื่อจะประกาศเรื่องที่พระเถระมาให้สงฆ์ทราบ จึงได้กล่าวคาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[235] สมณะทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร
ท่านขุชชโสภิตะนี้เป็นภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุเหล่านั้น
มายืนอยู่ที่ประตูถ้ำได้ ดุจลมพัดมา
(พระเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถานี้ว่า)
[236] ขุชชโสภิตภิกษุนี้ ได้รับความสุขด้วยอาการเหล่านี้
คือ ด้วยการรบดี การบูชาดี การชนะสงคราม
และการประพฤติพรหมจรรย์ประจำ

7. วารณเถรคาถา
ภาษิตของพระวารณเถระ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อประทานโอวาทแก่พระวารณเถระ จึงได้ตรัส 3 คาถาไว้
ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :376 }