เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [2. ทุกนิบาต] 3. ตติยวรรค 6. ปุณณมาสเถรคาถา
4. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
(พระวัลลิยเถระเมื่อจะถามพระเวณุทัตตเถระ จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[167] กิจใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่น
มุ่งที่จะตรัสรู้ พึงทำกิจนั้น
เราจักทำไม่ให้พลาด
เชิญท่านดูความเพียร ความบากบั่นของเราเถิด
[168] อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทางอันหยั่งลงสู่อมตมหานิพพาน
ซึ่งเป็นทางตรงให้เรา เราจะรู้ด้วยญาณ
ดุจกระแสแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร

5. วีตโสกเถรคาถา
ภาษิตของพระวีตโสกเถระ
(พระวีตโสกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[169] ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดูร่างกาย
[170] ร่างกายได้ปรากฏเป็นสภาพว่างเปล่า
ความบอด ความมืดได้สิ้นไป
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดด้วยดีแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

6. ปุณณมาสเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณมาสเถระ
(พระปุณณเถระเมื่อจะแสดงธรรมแก่ภรรยาเก่า จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :359 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [2. ทุกนิบาต] 3. ตติยวรรค 8. ภารตเถรคาถา
[171] เราละนิวรณ์1 5 เพื่อบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว
ถือเอาแว่นส่องธรรม คือญาณทัสสนะสำหรับตน
[172] พิจารณาดูร่างกายนี้ทั่วทั้งภายในภายนอก
ร่างกายของเราได้ปรากฏเป็นสภาพว่างเปล่า
ทั้งภายในและภายนอก

7. นันทกเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว 2 คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[173] โคอาชาไนยที่ดี พลาดล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ได้
ได้ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ท้อถอย นำภาระต่อไปได้ ฉันใด
[174] ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอาชาไนยสมบูรณ์ด้วยทัศนะ
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นบุตรซึ่งเกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น

8. ภารตเถรคาถา
ภาษิตของพระภารตเถระ
(พระภารตเถระเมื่อจะบอกมิจฉาวิตกที่เกิดแก่พระนันทกเถระ จึงได้กล่าว 2
คาถาไว้ดังนี้ว่า)

เชิงอรรถ :
1 นิวรณ์ 5 สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม 5 ประการ คือ (1) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(2) พยาบาท ความคิดร้าย (3) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม (4) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ (5) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (องฺ. ปญฺจก. 22/51/59)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 26 หน้า :360 }