เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [5. ปารายนวรรค] 1. อชิตมาณวกปัญหา
ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[1044] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ)
เธอได้ถามปัญหานั้นใด
เราจะกล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ
นามและรูปดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด
นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ
[1045] (อชิตมาณพทูลถามดังนี้)
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด ผู้มีธรรมที่พิจารณาแล้ว
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ
และพระเสขะเหล่านั้นด้วยเถิด
[1046] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย
เป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง
มีสติดำรงอยู่
อชิตมาณวกปัญหาที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :747 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [5. ปารายนวรรค] 3. ปุณณกมาณวกปัญหา
2. ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหา1
ว่าด้วยปัญหาของติสสเมตเตยยมาณพ
[1047] (ติสสเมตเตยยมาณพทูลถามดังนี้)
ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้
ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร
ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง 2 ด้านแล้ว2
ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา
พระองค์ตรัสเรียกใครว่า เป็นมหาบุรุษ
ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้
[1048] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตเตยยะ)
บุคคลเป็นผู้มีพรหมจรรย์3(เพราะเห็นโทษ) ในกามทั้งหลาย
ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ ผู้คลายตัณหาแล้ว
มีสติทุกเมื่อ รู้ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลสได้
ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว
[1049] ภิกษุนั้นชื่อว่า รู้ชัดส่วนสุดทั้ง 2 ด้านแล้ว
ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา
เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นมหาบุรุษ
ภิกษุนั้นชื่อว่า ล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้
ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหาที่ 2 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) 30/65-67/13
2 ส่วนสุด 2 ด้าน ได้แก่ ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ผัสสสมุทัยเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ผัสสนิโรธอยู่ท่ามกลาง
เป็นต้น (ขุ.จู. (แปล) 30/11/79)
3 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ (ขุ.สุ.อ. 2/1048/436)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :748 }