เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [4. อัฏฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสูตร
สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั้นแหละยึดถือทิฏฐิอยู่
[888] ถ้าพวกสมณพราหมณ์ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน1
เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น
[889] คน 2 จำพวกกล่าวทิฏฐิใดต่อกันว่า เป็นคนพาล
เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่า จริง
สมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตน ๆ ว่า จริง
เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล
(พระพุทธเนรมิตทูลถามดังนี้)
[890] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้
สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน
เพราะหตุไร สมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
[891] หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
สัจจะนั้นมีอย่างเดียว2เท่านั้น ไม่มีอย่างที่ 2
สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน

เชิงอรรถ :
1 ข้อความนี้แปลตามบาลีที่ปรากฏว่า “สนฺทิฏฺฐิยา เจว น วีวทาตา” อีกนัยหนึ่งมีบาลีปรากฏว่า “สนฺทิฏฺฐิยา
เจ ปน วีวทาตา” ดังนี้ก็มี แปลว่า “ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้ว เพราะทิฏฐิของตน” (ขุ.สุ.อ.
2/887-888/396)
2 สัจจะมีอย่างเดียว หมายถึงนิโรธสัจจะ หรือมัคคสัจจะ (ขุ.สุ.อ. 2/891/397)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :714 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [4. อัฏฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสูตร
(พระพุทธเนรมิตทูลถามดังนี้)
[892] เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะไปต่าง ๆ
อ้างตนว่า เป็นคนฉลาดพูดพร่ำกันไป
สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา
มีหลายอย่างต่าง ๆ กันหรือ
หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
[893] มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กันเลย
เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก
แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
พากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง
แล้วกล่าวธรรมเป็น 2 อย่างว่า
คำของเราจริง คำของท่านเท็จ
[894] เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร และอารมณ์ที่รับรู้
แล้วแสดงอาการดูหมิ่น และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ
แล้วก็ร่าเริงกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด
[895] เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด
ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น
เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่า เป็นคนฉลาด
ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน
[896] เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ1
เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อภิเษกตนเองด้วยใจ
เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
1 อติสารทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ 62 และทิฏฐิ 62 นี้เอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ทิฏฐิที่ตกลงใจ’ (ขุ.ม.
(แปล) 29/124/354)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :715 }