เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 8. สหัสสวรรค 14. พหุปุตติกาเถรีวัตถุ
13. กิสาโคตมีวัตถุ
เรื่องนางกิสาโคตมี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางกิสาโคตมี ดังนี้)
[114] ผู้เห็นทางอมตะ1 แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นทางอมตะ
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี

14. พหุปุตติกาเถรีวัตถุ
เรื่องพระพหุปุตติกาเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระพหุปุตติกาเถรี ดังนี้)
[115] ผู้เห็นธรรมอันสูงสุด2 แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมอันสูงสุด
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี
สหัสสวรรคที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ทางอมตะ หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. 4/132)
2 ธรรมอันสูงสุด ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 (ขุ.ธ.อ. 4/134)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :66 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 9. ปาปวรรค 2. เสยยสกเถรวัตถุ
9. ปาปวรรค
หมวดว่าด้วยบาป
1. จูเฬกสาฏกวัตถุ
เรื่องพราหมณ์จูเฬกสาฎก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[116] บุคคลควรรีบเร่งทำบุญ1 ควรห้ามจิตจากบาป2
เพราะเมื่อทำบุญช้าไป ใจจะยินดีในบาป

2. เสยยสกเถรวัตถุ
เรื่องพระเสยยสกเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเสยยสกเถระ ดังนี้)
[117] หากบุคคลทำบาปไป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นซ้ำอีก
ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้

เชิงอรรถ :
1 บุญ หมายถึงการให้ทาน การบำเพ็ญวัตร มีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. 5/4)
2 บาป หมายถึงกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการเกิดขึ้นแห่งอกุศลจิต (ขุ.ธ.อ. 5/4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :67 }