เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 8. สหัสสวรรค 9. สังกิจจสามเณรวัตถุ
7. สารีปุตตเถรสหายกพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนของพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนของพระสารีบุตรเถระ
ดังนี้)
[108] การไหว้ท่านผู้ปฏิบัติตรง
ประเสริฐกว่าการบูชายัญและการบวงสรวงใด ๆ ในโลก
ที่ผู้หวังบุญทำอยู่ตลอดปี
เพราะการบูชายัญและการบวงสรวงทั้งหมดนั้น
มีค่าไม่ถึงหนึ่งในสี่1

8. อายุวัฑฒนกุมารวัตถุ
เรื่องอายุวัฒนกุมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อายุวัฒนกุมารและอุบาสก 500 คน ดังนี้)
[109] ธรรม 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่ผู้กราบไหว้ ผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์

9. สังกิจจสามเณรวัตถุ
เรื่องสังกิจจสามเณร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ 500 รูป ดังนี้)
[110] ผู้มีศีล เพ่งพินิจ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าคนทุศีล ไม่มีจิตตั้งมั่น
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี

เชิงอรรถ :
1 มีค่าไม่ถึงหนึ่งในสี่ หมายถึงอานิสงส์ไม่ถึง 1 ส่วนใน 4 ส่วนแห่งผลที่เกิดจากการมีกุศลเจตนาคือจิต
เลื่อมใสแล้วน้อมกายไหว้พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติตรง (ขุ.ธ.อ. 4/101)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :64 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 8. สหัสสวรรค 12. ปฏาจาราเถรีวัตถุ
10. ขาณุโกณฑัญญเถรวัตถุ
เรื่องพระขาณุโกณฑัญญเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ 500 รูป ผู้เป็นศิษย์พระขาณุ-
โกณฑัญญเถระ ดังนี้)
[111] ผู้มีปัญญา เพ่งพินิจ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้มีปัญญาทราม ไม่มีจิตตั้งมั่น
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี1

11. สัปปทาสเถรวัตถุ
เรื่องพระสัปปทาสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[112] ผู้มีความเพียรมั่นคง2 แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้าน ไม่มีความเพียร
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี

12. ปฏาจาราเถรีวัตถุ
เรื่องพระปฏาจาราเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระปฏาจาราเถรี ดังนี้)
[113] ผู้เห็นความเกิดและความดับ3 แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นความเกิดและความดับ
ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี4

เชิงอรรถ :
1 ขุ.อป. (แปล) 33/239/486
2 มีความเพียรมั่นคง หมายถึงบำเพ็ญเพียรอย่างหนักแน่น สามารถจะให้เกิดฌาน 2 ประการ คือ
(1) อารัมมณูปนิชฌาน(การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4) (2) ลักขณูปนิชฌาน
(การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล)
3 เห็นความเกิดและความดับ หมายถึงเห็นความเกิดและความดับของขันธ์ 5 (ขุ.ธ.อ. 4/128)
4 ขุ.อป. (แปล) 33/81/466

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :65 }