เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [2. จูฬวรรค] 12. วังคีสสูตร
พระองค์ทรงทราบคติของพระนิโครธกัปปเถระ
โปรดอย่าให้ข้าพระองค์หลงอยู่เลย
[356] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ทรงรู้แจ้งอริยธรรม1ทั้งที่เป็นโลกุตตระและโลกิยะ
ทรงทราบเญยยธรรมทั้งหมด
โปรดอย่าให้ข้าพระองค์หลงอยู่เลย
ข้าพระองค์หวังพระดำรัสของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง
เหมือนคนถูกความร้อนแผดเผาในฤดูร้อนต้องการน้ำเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น
ขอพระองค์โปรดเปล่งสัททายตนะคือสุตะเถิด
[357] พระนิโครธกัปปเถระประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นของท่าน ไม่สูญเปล่าหรือ
ท่านนิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
หรือนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟังเรื่องนั้น
[358] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
นิโครธกัปปเถระนั้นได้ตัดขาดตัณหาในนามรูปนี้
ทั้งตัดกระแสแห่งธรรมฝ่ายดำ
ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านาน
ข้ามพ้นชาติและมรณะได้อย่างสิ้นเชิง
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐด้วยพลธรรม 5 ประการ2
ได้ตรัสไว้ดังนี้

เชิงอรรถ :
1 อริยธรรม หมายถึงอริยสัจ 4 (ขุ.สุ.อ. 2/356/168)
2 พลธรรม 5 ประการ คือ (1) สัทธา(ความเชื่อ) (2) วิริยะ(ความเพียร) (3) สติ(ความระลึกได้) (4) สมาธิ
(ความตั้งจิตมั่น) (5) ปัญญา(ความรู้ทั่ว) อนึ่ง คำว่า “พระผู้มีพระภาค” ในคาถานี้เป็นคำกล่าวของพระ
สังคีติกาจารย์ (ขุ.สุ.อ. 2/358/169)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :583 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [2. จูฬวรรค] 13. สัมมาปริพพาชนียสูตร
[359] (ท่านพระวังคีสเถระกราบทูลดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นพุทธะ
ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ย่อมเลื่อมใส
ทราบว่า เรื่องที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้วไม่ไร้ประโยชน์
พระองค์ทรงเป็นพุทธเจ้า ไม่ทรงลวงข้าพระองค์แน่นอน
[360] สาวกของพระพุทธองค์พูดอย่างใด ก็ทำอย่างนั้น
ได้ตัดข่ายคือตัณหาที่แผ่กว้าง ทั้งมั่นคง
ของมารเจ้าเล่ห์ได้เด็ดขาด
[361] พระผู้มีพระภาคสมควรที่จะตรัสว่า
ท่านพระนิโครธกัปปเถระได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน
ล่วงพ้นบ่วงมัจจุราชที่ข้ามได้แสนยากแล้ว
วังคีสสูตรที่ 12 จบ

13. สัมมาปริพพาชนียสูตร
ว่าด้วยภิกษุควรละเว้นอยู่ในโลกโดยชอบ
[362] (พระพุทธเนรมิตทูลถามดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระมุนีผู้มีปัญญามาก
ทรงข้ามโอฆะได้แล้วปรินิพพาน มีพระทัยมั่นคง
ภิกษุนั้นบรรเทากามทั้งหลาย ออกจากเรือน (มาบวช) แล้ว
พึงละเว้นอยู่ในโลกโดยชอบได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :584 }