เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [2. จูฬวรรค] 4. มงคลสูตร
[259] ความเพียรที่เป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์
ย่อมนำทั้งความสรรเสริญและความสุขมาให้
ผู้หวังผล นำธุระอันสมควรแก่บุรุษ
ย่อมทำความเพียรนั้นให้เจริญได้
[260] บุคคลดื่มปวิเวกรส
ลิ้มรสแห่งความสงบ
และได้ลิ้มรสแห่งปีติในธรรมแล้ว
เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป1
หิริสูตรที่ 3 จบ

4. มงคลสูตร
ว่าด้วยมงคล2
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป3 เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาว่า
[261] เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก
ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล
ขอพระองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด

เชิงอรรถ :
1 ดูธรรมบทข้อ 205 หน้า 96 ในเล่มนี้
2 ดูขุททกปาฐะ (มงคลสูตร ข้อ 1-13 หน้า 6-8 ในเล่มนี้)
3 ดูเชิงอรรถที่ 4 หน้า 6 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :561 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [2. จูฬวรรค] 4. มงคลสูตร
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
[262] (1) การไม่คบคนพาล (2) การคบแต่บัณฑิต
(3) การบูชาคนที่ควรบูชา
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[263] (4) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
(5) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (6) การตั้งตนไว้ชอบ
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[264] (7) ความเป็นพหูสูต (8) ความเป็นผู้มีศิลปะ
(9) วินัยที่ศึกษามาดี (10) วาจาสุภาษิต
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[265] (11) การบำรุงมารดาบิดา (12) การสงเคราะห์บุตร
(13) การสงเคราะห์ภรรยา (14) การทำงานไม่อากูล
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[266] (15) การให้ทาน (16) การประพฤติธรรม
(17) การสงเคราะห์ญาติ (18) การงานที่ไม่มีโทษ
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[267] (19) การงดเว้นจากบาป (20) การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
(21) ความไม่ประมาทในธรรม
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[268] (22) ความเคารพ (23) ความถ่อมตน (24) ความสันโดษ
(25) ความกตัญญู (26) การฟังธรรมตามกาล
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
[269] (27) ความอดทน (28) ความเป็นคนว่าง่าย
(29) การพบเห็นสมณะ (30) การสนทนาธรรมตามกาล
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :562 }