เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 4. กิสภารทวาชสูตร
สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[74] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ
ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว
ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[75] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่งกล่าวดังนี้)
ทุกวันนี้ มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ
จึงคบและเสพด้วย
มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก
มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด1
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
ขัคควิสาณสูตรที่ 3 จบ

4. กสิภารทวาชสูตร2
ว่าด้วยภารทวาชพราหมณ์ผู้เป็นชาวนา
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคีรีมหาวิหาร3 ใกล้หมู่บ้าน
พราหมณ์ ชื่อเอกนาฬา แคว้นมคธ สมัยนั้น ในฤดูหว่านข้าว กสิภารทวาช-
พราหมณ์ได้ประกอบไถจำนวน 500 เล่ม เตรียมไถนา

เชิงอรรถ :
1 ไม่สะอาด หมายถึงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่สะอาด (ขุ.สุ.อ.1/75/131)
2 สํ.ส. (แปล) 15/197/283
3 ทักขิณาคีรีมหาวิหาร นี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ติดเชิงภูเขาที่ล้อมรอบกรุงราชคฤห์ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์
(ขุ.สุ.อ.1/4/137)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :517 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 4. กิสภารทวาชสูตร
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ ขณะนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์
กำลังเลี้ยงอาหารกันอยู่ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสถานที่เลี้ยงอาหารของเขาแล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ จึงกราบทูล
ดังนี้ว่า “ท่านพระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค
ท่านพระสมณะ แม้ท่านก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภค”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและ
หว่านแล้ว จึงบริโภค”
กสิภารทวาชพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระสมณะ ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ
ผาล ประตัก หรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย ถึงกระนั้น ท่านพระโคดม
ยังพูดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค”
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[76] ท่านปฏิญญาว่าเป็นชาวนา
แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นสัมภาระแห่งการไถของท่านเลย
ท่านผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้ว
ขอจงบอก ข้าพเจ้าจะรู้สัมภาระแห่งการไถของท่านได้อย่างไร
[77] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ
ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก
[78] เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจาได้แล้ว
สำรวมในการบริโภคอาหาร
เราดายหญ้า (คือวาจาสับปลับ) ด้วยคำสัตย์
โสรัจจะของเราช่วยทำงานให้สำเร็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :518 }