เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [1. อุรควรรค] 1. อุรคสูตร
[9] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมด1ในโลกว่า มีภาวะผันแปร
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[10] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากโลภะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[11] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากราคะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[12] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากโทสะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[13] ภิกษุผู้ไม่ทำความเพียรตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
รู้สิ่งทั้งหมดในโลกว่า มีภาวะผันแปร เป็นผู้ปราศจากโมหะ
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น
[14] ภิกษุผู้ไม่มีอนุสัยกิเลส2ใด ๆ
และถอนรากอกุศลธรรม3ได้หมดสิ้น
ชื่อว่าละฝั่งในได้ ดุจงูลอกคราบทิ้งไป ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
1 สิ่งทั้งหมด ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ธาตุ และอายตนะ (ขุ.สุ.อ. 1/9/20)
2 อนุสัยกิเลส หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี 7 ประการ คือ (1) กามราคะ (ความกำหนัด
ในกาม) (2) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ) (3) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (4) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
(5) มานะ (ความถือตัว) (6) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) (7) อวิชชา (ความไม่รู้) (ขุ.สุ.อ.1/14/21)
3 รากอกุศลธรรม หมายถึงราคะ โทสะ และโมหะ (ขุ.สุ.อ.1/14/22)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :501 }