เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 4. สามเณรปัญหา
4. สามเณรปัญหา
ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร
1. อะไรชื่อว่า หนึ่ง
ที่ชื่อว่า หนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร1
2. อะไรชื่อว่า สอง
ที่ชื่อว่า สอง ได้แก่ นามและรูป
3. อะไรชื่อว่า สาม
ที่ชื่อว่า สาม ได้แก่ เวทนา 32
4. อะไรชื่อว่า สี่
ที่ชื่อว่า สี่ ได้แก่ อริยสัจ 4
5. อะไรชื่อว่า ห้า
ที่ชื่อว่า ห้า ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 53
6. อะไรชื่อว่า หก
ที่ชื่อว่า หก ได้แก่ อายตนะภายใน 64
7. อะไรชื่อว่า เจ็ด
ที่ชื่อว่า เจ็ด ได้แก่ โพชฌงค์ 7

เชิงอรรถ :
1 อาหาร หมายถึงปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ดำรงชีพอยู่ได้ ได้แก่ อาหาร 4 คือ (1) กวฬิงการาหาร
(อาหารคือคำข้าว) (2) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (3) มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา)
(4) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ยกเว้นอสัญญีสัตตพรหม ซึ่งมีฌานเป็นอาหาร (ขุ.ขุ.อ. 4/65,
องฺ.ทสก.อ. 3/27/336) และดู ที.ปา. 11/303/191,311/203, องฺ.ทสก. (แปล) 24/27/62, ขุ.ป. (แปล)
31/208/345, ม.มู. (แปล) 12/90/84
2 ดู ที.ปา. 11/305/194, สํ.สฬา. (แปล) 18/270/303
3 ดู สํ.ข. (แปล) 17/48/66-67, อภิ.วิ (แปล) 35/1/1-2
4 ดู ที.ปา. 11/323/215, อภิ.วิ. (แปล) 35/154-167/112-118

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :5 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 5. มงคลสูตร
8. อะไรชื่อว่า แปด
ที่ชื่อว่า แปด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
9. อะไรชื่อว่า เก้า
ที่ชื่อว่า เก้า ได้แก่ สัตตาวาส 91
10. อะไรชื่อว่า สิบ
ที่ชื่อว่า สิบ ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 102 เรียกว่า พระอรหันต์
สามเณรปัญหา จบ

5. มงคลสูตร
ว่าด้วยมงคล
[1] ข้าพเจ้า3ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป4 เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร5 ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/341/232, 359/272
2 องค์คุณ 10 ได้แก่ (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาสังกัปปะ (3) สัมมาวาจา (4) สัมมากัมมันตะ (5) สัมมาอาชีวะ
(6) สัมมาวายามะ (7) สัมมาสติ (8) สัมมาสมาธิ (9) สัมมาญาณะ (10) สัมมาวิมุตติ (ขุ.ขุ.อ. 4/77)
3 ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์
4 ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม(ยามแรก) กำหนดเวลา 4 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาถึง 22
นาฬิกาแห่งราตรีที่ผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิยาม(ยามกลาง) คือกำลังอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 22 นาฬิกา
ถึง 2 นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/21-22/108, ขุ.ขุ.อ. 5/99)
5 ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ 6 ประการ คือ (1) ไกลเกินไป (2) ใกล้เกินไป
(3) อยู่เหนือลม (4) สูงเกินไป (5) อยู่ตรงหน้าเกินไป (6) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. 2/16/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :6 }