เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 12. สัมปันนสีลสูตร
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่อง
ตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังนั่ง ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ
ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ
ต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่ ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ-
กุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่
ผู้เป็นอย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกาย
และใจต่อเนื่องตลอดไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุควรเดินสำรวม ยืนสำรวม นั่งสำรวม นอนสำรวม
คู้เข้าสำรวม เหยียดออกสำรวม
พิจารณาความเกิด และความดับแห่งธรรมขันธ์1
ทั่วภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง

เชิงอรรถ :
1 ธรรมขันธ์ หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (ขุ.อิติ.อ. 111/410,
องฺ.จตุกฺก.อ. 2/12/291)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :494 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 13. โลกสูตร
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกภิกษุเช่นนั้น ผู้มีความเพียร
ละกิเลสอยู่อย่างนี้ ประพฤติตนสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ1
มีสติทุกเมื่อว่า ‘ผู้อุทิศกายและใจต่อเนื่อง’
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สัมปันนสีลสูตรที่ 12 จบ

13. โลกสูตร2
ว่าด้วยโลก
[112] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้
พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้โลก3แล้ว ตถาคตพรากจากโลก ตถาคตตรัสรู้
เหตุเกิดแห่งโลก ตถาคตละเหตุเกิดแห่งโลกแล้ว ตถาคตตรัสรู้ความดับแห่งโลก
ตถาคตทำให้แจ้งความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก
ตถาคตบำเพ็ญข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ หมายถึงผู้ปฏิบัติบำเพ็ญให้เกิดญาณทัสสนวิสุทธิอันเป็นข้อ
ปฏิบัติสมควรแก่อริยมรรค กล่าวคือ เจโตสมถะ เพราะสงบระงับกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.อิติ.อ. 111/410)
2 ดูเทียบ ที.ปา. 11/188/117, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/23/37-39
3 โลก มีความหมายหลายนัย แต่ในที่นี้หมายถึงทุกขอริยสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/23/301, ขุ.อิติ.อ. 112/410)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :495 }