เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 12. สัมปันนสีลสูตร
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่อง
ตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังนั่ง ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ
ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้
มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ
ต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้าภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่ ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ-
กุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่
ผู้เป็นอย่างนี้ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกาย
และใจต่อเนื่องตลอดไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุควรเดินสำรวม ยืนสำรวม นั่งสำรวม นอนสำรวม
คู้เข้าสำรวม เหยียดออกสำรวม
พิจารณาความเกิด และความดับแห่งธรรมขันธ์1
ทั่วภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง

เชิงอรรถ :
1 ธรรมขันธ์ หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (ขุ.อิติ.อ. 111/410,
องฺ.จตุกฺก.อ. 2/12/291)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :494 }