เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 3. อาสวักขยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย 4 ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษนี้ เราจึงกล่าวว่า “เป็นองค์ประกอบแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ1
อย่างหนึ่งของภิกษุนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
จิตของภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัย
ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ
เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะ (และยารักษาโรค)
และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว
อันภิกษุผู้สันโดษ ไม่ประมาท บรรลุแล้ว
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สุลภสูตรที่ 2 จบ

3. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
[102] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้เห็น
อยู่ หากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ไม่

เชิงอรรถ :
1 คุณเครื่องความเป็นสมณะ หมายถึงปาริสุทธิศีล 4 ประการ สมถะ วิปัสสนา หรืออริยมรรค เมื่อว่า
โดยย่อมี 2 ประการ คือ (1) คุณเครื่องภายนอก ได้แก่ ธรรมเครื่องอาศัยของสัตบุรุษและการฟัง
สัทธรรม (2) คุณเครื่องภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) และธัมมานุธัมมปฏิบัติ
(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) คุณเครื่องความเป็นสมณะนั้น มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้ คือ
ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร เป็นต้น
(ขุ.อิติ.อ. 101/368)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :479 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 3. อาสวักขยสูตร
ภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
คือ ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกข’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์)’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’ จึง
ชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ญาณในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ
ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรงก่อน
ลำดับต่อจากนั้นอัญญินทรีย์จึงเกิดขึ้น1
ต่อจากอัญญินทรีย์นั้น วิมุตติญาณอันสูงสุด
และญาณในความสิ้นกิเลส
ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผลว่า
“สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว’
คนพาลผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่ควรบรรลุนิพพาน
เป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงนี้เลย
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อาสวักขยสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูอิติวุตตกะ ข้อ 62 หน้า 418 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :480 }