เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือน
แสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจ
ภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติเรียกผู้บรรลุวิชชา 3 ว่าเป็นพราหมณ์ โดยธรรม
เราหาบัญญัติเรียกบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวอ้างตามที่
ผู้อื่นเรียกกันไม่ อย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลใดรู้ปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์และอบาย
บรรลุธรรมที่สิ้นความเกิด
เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง
เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา 3 โดยวิชชา 3 นี้
เราเรียกบุคคลนั้นว่า ได้วิชชา 3
หาเรียกบุคคลอื่นว่า ได้วิชชา 3 ตามที่ผู้อื่นเรียกกันไม่
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
เตวิชชสูตรที่ 10 จบ
ปัญจมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อัคคัปปสาทสูตร 2. ชีวกสูตร
3. สังฆาฏิกัณณสูตร 4. อัคคิสูตร
5. อุปปริกขสูตร 6. กามูปปัตติสูตร
7. กามโยคสูตร 8. กัลยาณสีลสูตร
9. ทานสูตร 10. เตวิชชสูตร

ติกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :476 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [4. จตุกกนิบาต] 1. พราหมณธัมมยาคสูตร
4. จตุกกนิบาต
1. พราหมณธัมมยาคสูตร
ว่าด้วยการบูชายัญด้วยธรรมของผู้เป็นพราหมณ์
[100] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เรานี้แลเป็นพราหมณ์ผู้ควรแก่การขอ ขวนขวายในธรรมทาน
ตลอดเวลา ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย เป็นศัลยแพทย์ ผ่าตัดกิเลสผู้เชี่ยวชาญ
เธอทั้งหลายเป็นบุตร ผู้เนื่องในอกของเรา คือ เกิดแต่ปาก เกิดแต่ธรรม ธรรม
สร้างสรรค์ไว้ จงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย
ภิกษุทั้งหลาย ทาน 2 อย่างนี้ คือ (1) อามิสทาน (2) ธรรมทาน บรรดา
ทาน 2 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
การจำแนก 2 อย่างนี้ คือ (1) การจำแนกอามิส (2) การจำแนกธรรม
บรรดาการจำแนก 2 อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ
การอนุเคราะห์ 2 อย่างนี้ คือ (1) การอนุเคราะห์ด้วยอามิส (2) การอนุเคราะห์
ด้วยธรรม บรรดาการอนุเคราะห์ 2 อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ
การบูชายัญ 2 อย่างนี้ คือ (1) การบูชายัญด้วยอามิส (2) การบูชายัญ
ด้วยธรรม บรรดาการบูชายัญ 2 อย่างนี้ การบูชายัญด้วยธรรมเป็นเลิศ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :477 }