เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 9. ทานสูตร
9. ทานสูตร
ว่าด้วยการให้ทาน
[98] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ทาน 2 อย่าง คือ อามิสทาน(การให้สิ่งของ)และธรรม-
ทาน(การให้ธรรม) บรรดาทาน 2 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
การจำแนก 2 อย่าง คือ การจำแนกด้วยอามิส และการจำแนกด้วยธรรม
บรรดาการจำแนก 2 อย่างนี้ การจำแนกด้วยธรรมเป็นเลิศ
การอนุเคราะห์ 2 อย่าง คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส และการอนุเคราะห์
ด้วยธรรม บรรดาการอนุเคราะห์ 2 อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐ เป็นนาบุญอันเลิศของโลก
เมื่อทราบชัดทานและการจำแนก
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่า ยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง
ใครเล่าจะไม่ถวายทานในกาลอันสมควร
ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมนั้นย่อมสำเร็จแก่คน 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายแสดงธรรมและฝ่ายฟังธรรม
ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสอนของพระสุคต
และผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระสุคต
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทานสูตรที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :473 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 10. เตวิชชสูตร
10. เตวิชชสูตร1
ว่าด้วยวิชชา 3
[99] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติเรียกผู้บรรลุวิชชา 3 ว่าเป็นพราหมณ์ โดยธรรม
เราหาบัญญัติเรียกบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวอ้างตามที่ผู้
อื่นเรียกกันไม่
ก็เราบัญญัติเรียกผู้บรรลุวิชชา 3 ว่าเป็นพราหมณ์ โดยธรรม เราหาบัญญัติ
เรียกบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียงการกล่าวอ้างตามที่ผู้อื่นเรียกกันไม่
มีอธิบายอย่างไร คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง
20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง
1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป2เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏะและวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิด
ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิด
ในภพนี้’ ภิกษุนั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติอย่างนี้ เธอชื่อว่าได้บรรลุวิชชาที่ 1 นี้แล้ว ความ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/59/225-229
2 สังวัฏฏกัป คือกัปฝ่ายเสื่อม ได้แก่ ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือกัปฝ่ายเจริญ ได้แก่
ช่วงระยะเวลาเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. 1/12/158)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :474 }