เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 4. อัคคิสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ไฟคือราคะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้กำหนัด
หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย
ไฟคือโทสะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้มีจิตพยาบาท ชอบฆ่าสัตว์
ไฟคือโมหะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้ลุ่มหลง
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
หมู่สัตว์ เมื่อไม่รู้จักไฟทั้ง 3 กองนี้
จึงยินดียิ่งในสักกายะ1
ไม่พ้นจากบ่วงแห่งมาร สั่งสมเพื่อเกิดในนรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย และแดนเปรต
ส่วนชนทั้งหลายผู้หมั่นอบรมตนในศาสนธรรม
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน
หมั่นเจริญอสุภสัญญาเป็นนิตย์
ย่อมทำไฟคือราคะให้ดับลงได้
ชนทั้งหลายที่มีคุณธรรมสูง
ย่อมดับไฟคือโทสะลงได้ด้วยเมตตา
และย่อมดับไฟคือโมหะด้วยปัญญา
อันเป็นเครื่องทำลายกิเลสได้เด็ดขาด
ชนผู้มีปัญญารักษาตนเหล่านั้น
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ดับไฟทั้ง 3 กองนั้นได้แล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นเชิง ล่วงพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น

เชิงอรรถ :
1 ยินดียิ่งในสักกายะ หมายถึงเพลิดเพลินยินดีในอุปาทานขันธ์ 5 ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และมานะ (ขุ.อิติ.อ.
93/337)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :467 }