เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค 10. เทวทัตตสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ใคร ๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ในโลก
เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่า
มีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว
เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่า เป็นบัณฑิต
เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว
เราได้ฟังมาว่า เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ
เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท
เบียดเบียนตถาคตนั้น
จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี มีประตู 4 ด้าน
น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก
ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนที่ไม่ประทุษร้าย
ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว
บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น
ผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ผู้ใดเบียดเบียนตถาคต ผู้เสด็จไปดี
มีพระทัยสงบ ด้วยการกล่าวตำหนิ
การตำหนิพระองค์ ย่อมฟังไม่ขึ้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร
ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ
เขาไม่อาจประทุษร้ายได้ เพราะมหาสมุทรน่ากลัว1

เชิงอรรถ :
1 น่ากลัว หมายถึงทั้งกว้างและลึก (ขุ.อิติ.อ. 89/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :459 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกให้เป็นกัลยาณมิตร
และคบหาท่านเหล่านั้น1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
เทวทัตตสูตรที่ 10 จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. วิตักกสูตร 2. สักการสูตร
3. เทวสัททสูตร 4. ปัญจปุพพนิมิตตสูตร
5. พหุชนหิตสูตร 6. อสุภานุปัสสีสูตร
7. ธัมมานุธัมมปฏิปันนสูตร 8. อันธกรณสูตร
9. อันตรามลสูตร 10. เทวทัตตสูตร


เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) 7/350/211

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :460 }