เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค 3. เทวสัททสูตร
สมาธิของภิกษุใด ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมหวั่นไหวด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
(1) ด้วยมีผู้สักการะ (2) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
ภิกษุนั้นผู้เข้าฌาน มีความเพียรต่อเนื่อง
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน1
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ2
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สักการสูตรที่ 2 จบ

3. เทวสัททสูตร
ว่าด้วยการเปล่งเสียงของเทวดา
[82] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เทวดาอาศัยโอกาส 3 โอกาส จึงเปล่งเสียงออกไปในหมู่เทวดา
โอกาส 3 โอกาส อะไรบ้าง คือ
1. โอกาสที่อริยสาวกปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เทวดาย่อมเปล่งเสียงออกไปในหมู่
เทวดาว่า ‘อริยสาวกนี้ตั้งใจจะทำสงครามกับกิเลสมาร’ นี้เป็นเสียง
ของเทวดาข้อที่ 1 ที่เปล่งออกไปเพราะอาศัยโอกาส

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน หมายถึงอรหัตตผลอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน 4 ประการ คือ
(1) กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) (2) ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ) (3) สีลัพพตุปาทาน (ความ
ยึดมั่นในศีลและวัตร) (4) อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตวาทะ) (ขุ.อิติ.อ. 81/286) และดู ที.ปา.
11/312/205 ประกอบ
2 ขุ.เถร. (แปล) 26/1010-1011/505

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :445 }