เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 3. ตติยวรรค 10. ปริหานสูตร
เพราะการคลุกคลีกัน1 กิเลสจึงเกิดขึ้น
เพราะการไม่คลุกคลีกัน กิเลสจึงขาดไป
บุคคลลงเรือเล็ก หวังจะข้ามมหาสมุทร
ยังไม่ทันถึงฝั่งก็จมลงในมหาสมุทร ฉันใด
บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรเว้นคนเกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้น
ควรคบพระอริยะทั้งหลาย ผู้สงัด มีใจมั่นคง
เพ่งพินิจอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ เป็นบัณฑิต
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ธาตุโสสังสันทนสูตรที่ 9 จบ

10. ปริหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
[79] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ

เชิงอรรถ :
1 การคลุกคลี มี 5 ประการ คือ (1) ทัสสนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเห็น) (2) สวนสังสัคคะ(การ
คลุกคลีด้วยการฟัง) (3) สมุลลาปนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเจรจา) (4) สัมโภคสังสัคคะ(การ
คลุกคลีด้วยการใช้สอยร่วมกัน) (5) กายสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยกาย) (ขุ.อิติ.อ.78/279)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :440 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 3. ตติยวรรค 10. ปริหานสูตร
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ชอบการงาน1 ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้
ชอบการงาน
2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็นผู้
ชอบการพูดคุย
3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการนอนหลับ
ธรรม 3 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความเป็น
ผู้ชอบการงาน
2. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการพูดคุย
3. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
ธรรม 3 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ”

เชิงอรรถ :
1 การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหาร เป็นต้น ความเป็น
ผู้ยินดีแต่การก่อสร้างจึงถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ
และวิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก. 3/14/105, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. 3/14-15/118)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :441 }