เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 3. ตติยวรรค 9. ธาตุโสสังสันทนสูตร
9. ธาตุโสสังสันทนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยธาตุ
[78] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธาตุ1 สัตว์ทั้งหลายเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ คือ
สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้
คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เข้ากันได้ คบกัน
ได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว สัตว์ที่มี
นิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอนาคตกาล เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็จะเข้ากันได้
คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว
สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันกาลนี้ เมื่อว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เข้ากันได้
คบกันได้กับสัตว์ คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลวเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว
สัตว์ที่มีนิสัยดีงามเข้ากันได้ คบกันได้กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ธาตุ ในที่นี้หมายถึงอัธยาศัย (ขุ.อิติ.อ.78/278)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :439 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 3. ตติยวรรค 10. ปริหานสูตร
เพราะการคลุกคลีกัน1 กิเลสจึงเกิดขึ้น
เพราะการไม่คลุกคลีกัน กิเลสจึงขาดไป
บุคคลลงเรือเล็ก หวังจะข้ามมหาสมุทร
ยังไม่ทันถึงฝั่งก็จมลงในมหาสมุทร ฉันใด
บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรเว้นคนเกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้น
ควรคบพระอริยะทั้งหลาย ผู้สงัด มีใจมั่นคง
เพ่งพินิจอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ เป็นบัณฑิต
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ธาตุโสสังสันทนสูตรที่ 9 จบ

10. ปริหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
[79] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ

เชิงอรรถ :
1 การคลุกคลี มี 5 ประการ คือ (1) ทัสสนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเห็น) (2) สวนสังสัคคะ(การ
คลุกคลีด้วยการฟัง) (3) สมุลลาปนสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยการเจรจา) (4) สัมโภคสังสัคคะ(การ
คลุกคลีด้วยการใช้สอยร่วมกัน) (5) กายสังสัคคะ(การคลุกคลีด้วยกาย) (ขุ.อิติ.อ.78/279)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :440 }