เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค 6. ทุติยเอสนาสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
การแสวงหากาม การแสวงหาภพ
และการแสวงหาพรหมจรรย์
คือการยึดถือว่าอย่างนี้จริง
อันเป็นทิฏฐิฏฐาน1
ภิกษุผู้คลายกำหนัดได้ทั้งหมด
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา
ชื่อว่าสละคืนการแสวงหา(กามและภพ)
พร้อมทั้งถอนทิฏฐิฏฐานได้2
เพราะสิ้นการแสวงหาทั้งหลาย
ภิกษุจึงเป็นผู้ไม่หวัง
และหมดความสงสัยโดยสิ้นเชิง
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทุติยเอสนาสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “ทิฏฐิฏฐาน” เป็นชื่อของทิฏฐินั่นเอง ทิฏฐิทั้งหลายที่ชื่อว่า ทิฏฐิฏฐาน เพราะเป็นเหตุแห่งความ
พินาศทั้งหลายทั้งปวง (ขุ.อิติ.อ. 55/225)
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/38/64

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :409 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค 7. ปฐมอาสวสูตร
7. ปฐมอาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ สูตรที่ 1
[56] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ1 3 ประการนี้
อาสวะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) 2. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
3. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ 3 ประการนี้แล
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น
มีสติสัมปชัญญะ
ย่อมรู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดอาสวะ ธรรมเป็นที่ดับอาสวะ
และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับอาสวะ
เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุจึงเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ปฐมอาสวสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อาสวะ หมายถึงกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน (ที.ปา.อ.305/187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :410 }