เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 3. ทวัตติงสาการ
3. ทวัตติงสาการ
ว่าด้วยอาการ 32
ในร่างกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต1
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม2 ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร3 และมันสมอง
ทวัตติงสาการ จบ

เชิงอรรถ :
1 ไต แปลจากคำว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ 2 ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก
สะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง 2 ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจ
แล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง 2 ข้าง (ขุ.ขุ.อ. 3/43), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
ให้บท นิยามคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่
ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”, Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary,
1985, (224), และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (591) ให้ความหมาย
ของคำว่า “วกฺก” ตรงกันกับคำว่า “ไต” (Kidney)
2 ม้าม แปลจากคำว่า “ปิหก” ตาม (ขุ.ขุ.อ. 3/45) (โบราณแปลว่า ไต), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้ายมีหน้าที่ทำลายเม็ด
เลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”
3 มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. 3/57, วิสุทฺธิ. 1/213/288) และดู องฺ.ฉกฺก.
(แปล) 22/29/469

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :4 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 4. สามเณรปัญหา
4. สามเณรปัญหา
ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร
1. อะไรชื่อว่า หนึ่ง
ที่ชื่อว่า หนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร1
2. อะไรชื่อว่า สอง
ที่ชื่อว่า สอง ได้แก่ นามและรูป
3. อะไรชื่อว่า สาม
ที่ชื่อว่า สาม ได้แก่ เวทนา 32
4. อะไรชื่อว่า สี่
ที่ชื่อว่า สี่ ได้แก่ อริยสัจ 4
5. อะไรชื่อว่า ห้า
ที่ชื่อว่า ห้า ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 53
6. อะไรชื่อว่า หก
ที่ชื่อว่า หก ได้แก่ อายตนะภายใน 64
7. อะไรชื่อว่า เจ็ด
ที่ชื่อว่า เจ็ด ได้แก่ โพชฌงค์ 7

เชิงอรรถ :
1 อาหาร หมายถึงปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ดำรงชีพอยู่ได้ ได้แก่ อาหาร 4 คือ (1) กวฬิงการาหาร
(อาหารคือคำข้าว) (2) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (3) มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา)
(4) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ยกเว้นอสัญญีสัตตพรหม ซึ่งมีฌานเป็นอาหาร (ขุ.ขุ.อ. 4/65,
องฺ.ทสก.อ. 3/27/336) และดู ที.ปา. 11/303/191,311/203, องฺ.ทสก. (แปล) 24/27/62, ขุ.ป. (แปล)
31/208/345, ม.มู. (แปล) 12/90/84
2 ดู ที.ปา. 11/305/194, สํ.สฬา. (แปล) 18/270/303
3 ดู สํ.ข. (แปล) 17/48/66-67, อภิ.วิ (แปล) 35/1/1-2
4 ดู ที.ปา. 11/323/215, อภิ.วิ. (แปล) 35/154-167/112-118

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :5 }