เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 7. นิพพานธาตุสูตร
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว1 บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภว-
สังโยชน์แล้ว2 หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ เพราะอินทรีย์ 5 ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป ภิกษุ
นั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น เราเรียกว่า สอุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภว-
สังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้
นั่นแลของภิกษุนั้น อันตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้ต่อไปแล้ว จักระงับดับสนิท
ภิกษุทั้งหลาย สภาวะดังกล่าวนี้ เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ตถาคตผู้มีพระจักษุ3 ไม่ทรงอิงอาศัยสิ่งใด ๆ
ผู้คงที่ ทรงประกาศนิพพานธาตุไว้ 2 ประการนี้ คือ

เชิงอรรถ :
1 ปลงภาระได้แล้ว หมายถึงปลงขันธภาระได้ ปลงกิเลสภาระได้ และปลงอภิสังขารภาระได้ (ขุ.อิติ.อ. 44/
189)
2 สิ้นภวสังโยชน์ หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (ขุ.อิติ.อ. 44/189)
3 หมายถึงจักษุ 5 ประการ คือ (1) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (2) มังสจักษุ (ตาเนื้อ) (3) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)
(4) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) (5) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (ดู ขุ.ม. (แปล) 29/156/424, ขุ.อิติ.อ.
44/190)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :393 }