เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 6. อชาตสูตร
หากสัตว์เหล่าใดไม่มีหิริโอตตัปปะในกาลทุกเมื่อ
สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าปราศจากสุกกธรรม
เป็นผู้เข้าถึงชาติและมรณะ
ส่วนสัตว์เหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้โดยชอบ
สัตว์เหล่านั้นมีพรหมจรรย์งอกงาม สงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สุกกธรรมสูตรที่ 5 จบ

6. อชาตสูตร
ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่เกิด
[43] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ อันปัจจัยไม่ทำ อันปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง มีอยู่จริง ภิกษุทั้งหลาย หากธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ อันปัจจัยไม่ทำ
อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง จะไม่มีอยู่จริงไซร้ ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏภาวะที่สลัดออกจาก
ธรรมชาติที่เกิด ที่ปรากฏ อันปัจจัยทำ อันปัจจัยปรุงแต่งได้เลย ภิกษุทั้งหลาย
ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ อันปัจจัยไม่ทำ อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง มีอยู่จริง
ฉะนั้น จึงปรากฏภาวะที่สลัดออกจากธรรมชาติที่เกิด ที่ปรากฏ อันปัจจัยทำ
อันปัจจัยปรุงแต่ง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/1082/515

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :391 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 7. นิพพานธาตุสูตร
ธรรมชาติที่เกิด ที่ปรากฏ ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว
อันปัจจัยทำ อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ยั่งยืน
ระคนด้วยชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรค
มีความเสื่อมโทรมเป็นปกติ
มีอาหารและตัณหาเป็นแดนเกิด
บุคคลจึงไม่ควรยินดีธรรมชาติดังกล่าวนั้น
ความสลัดออกจากธรรมชาติดังกล่าวนั้นได้
เป็นความสงบ มิใช่วิสัยแห่งการคาดคะเน
เป็นภาวะที่ยั่งยืน
ธรรมชาติที่ไม่เกิด ที่ไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว
ไม่มีความโศก ปราศจากธุลีคือกิเลส
เป็นภาวะควรเข้าถึงแท้จริง
ความดับแห่งธรรมชาติที่เป็นทุกข์ทั้งหลาย
คือความสงบระงับแห่งสังขาร เป็นความสุข
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อชาตสูตรที่ 6 จบ

7. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[44] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 ประการนี้
นิพพานธาตุ 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :392 }