เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 3. จิตตวรรค 9. โสเรยยวัตถุ
8. นันทโคปาลกวัตถุ
เรื่องนายนันทะผู้เลี้ยงโค
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[42] จิตที่ตั้งไว้ผิด1พึงทำให้ได้รับความเสียหาย
ยิ่งกว่าความเสียหายที่โจรเห็นโจร2
หรือผู้จองเวรเห็นผู้จองเวร จะพึงทำให้แก่กัน

9. โสเรยยวัตถุ
เรื่องพระโสเรยยเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[43] จิตที่ตั้งไว้ชอบ3 ย่อมอำนวยให้ได้ผลที่ประเสริฐยิ่ง
ที่มารดาบิดาก็ทำให้ไม่ได้
หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ให้ไม่ได้
จิตตวรรคที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 จิตที่ตั้งไว้ผิด หมายถึงจิตที่ตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ 10 ประการ ทำให้ถึงความพินาศฉิบหายในโลกนี้
และตกไปในอบายภูมิ 4 ถึง 100,000 ชาติ (ขุ.ธ.อ. 2/143)
2 โจรเห็นโจร หมายถึงโจรเห็นโจรที่เป็นคู่อาฆาตกันแล้วจะต้องฆ่ากัน หรือเบียดเบียนให้ได้รับความเสียหาย
(ขุ.ธ.อ. 2/143)
3 จิตที่ตั้งไว้ชอบ หมายถึงจิตที่มุ่งมั่นประพฤติตามกุศลกรรมบถ 10 ประการ (ขุ.ธ.อ. 2/149)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :39 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 4. ปุปผวรรค 1. ปัญจสตภิกขุวัตถุ
4. ปุปผวรรค
หมวดว่าด้วยดอกไม้
1. ปัญจสตภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุ 500 รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ 500 รูป ดังนี้)
[44] ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้1 ยมโลก2
และมนุษยโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
ใครจักเลือกบทธรรม3ที่ตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดเลือกเก็บดอกไม้ ฉะนั้น
[45] พระเสขะ4จักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ยมโลก
และมนุษยโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
พระเสขะจักเลือกบทธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดเลือกเก็บดอกไม้ ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
1 แผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงอัตภาพ (ขุ.ธ.อ. 3/1/2)
2 ยมโลก หมายถึงอบายภูมิ 4 (ขุ.ธ.อ. 3/2)
3 บทธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ (ขุ.ธ.อ. 3/2)
4 พระเสขะ หมายถึงพระอริยบุคคล 7 จำพวก มีพระโสดาบัน เป็นต้น ผู้ศึกษาตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ
และปัญญา (ขุ.ธ.อ. 3/2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :40 }