เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [1. เอกกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 10. ปทุฏฐจิตตสูตร
ธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
คือ สังฆสามัคคี
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ย่อมไม่มีความบาดหมางกัน ไม่มี
การข่มขู่กัน ไม่มีการด่าว่ากัน และไม่มีการขับไล่กัน ในเพราะความสามัคคีของสงฆ์
นั้น ชนทั้งหลายที่ยังไม่เลื่อมใส ก็เลื่อมใส ส่วนชนทั้งหลายที่เลื่อมใสแล้ว ก็เลื่อมใส
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ความสามัคคีแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้สามัคคีกันแล้ว
ผู้ยินดีในความสามัคคีกัน ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สังฆสามัคคีสูตรที่ 9 จบ

10. ปทุฏฐจิตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีจิตถูกประทุษร้าย2
[20] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดวาระจิตของบุคคลผู้มีจิตถูกประทุษร้ายบางคนใน
โลกนี้ด้วยใจ จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าบุคคลนี้ตายในขณะนี้ จะถูกไหม้ในนรกเหมือนถูก
นำไปฝังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะจิตของเขาถูกประทุษร้าย ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) 7/354/217, องฺ.ทสก. (แปล) 24/40/92
2 จิตถูกประทุษร้าย หมายถึงจิตขุ่นมัวด้วยกิเลสมีราคะ เป็นต้น (ขุ.อิติ.อ. 20/82)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :363 }