เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [7. จูฬวรรค] 3. ปฐมสัตตสูตร
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ ยิ่งกว่าประมาณ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
บุคคลตัดวัฏฏะ1ได้ จึงบรรลุถึงความไม่หวัง2
แม่น้ำคือตัณหาที่ถูกอรหัตตมรรคญาณทำให้เหือดแห้งแล้ว
จึงไหลไปอีกไม่ได้
วัฏฏะที่ตัดได้แล้ว ย่อมไม่หมุนวนได้อีก
สภาพนี้แหละคือความสิ้นสุดแห่งทุกข์
ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตรที่ 2 จบ

3. ปฐมสัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่ติดอยู่ในกาม สูตรที่ 1
[63] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในกรุงสาวัตถีโดยมากเป็นผู้ติดใจใน
กามทั้งหลายเกินขอบเขต เป็นผู้ยินดี รักใคร่ เพลิดเพลิน หลงใหล หมกมุ่น มัวเมา
อยู่ในกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงกิเลสวัฏ (ขุ.อุ.อ. 62/389)
2 บรรลุถึงความไม่หวัง หมายถึงบรรลุนิพพาน (ขุ.อุ.อ. 62/389)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :311 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [7. จูฬวรรค] 4. ทุติยสัตตสูตร
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส มนุษย์ทั้งหลาย
ในกรุงสาวัตถีโดยมาก เป็นผู้ติดใจในกามทั้งหลายเกินขอบเขต เป็นผู้ยินดี รักใคร่
เพลิดเพลิน หลงใหล หมกมุ่น มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
สัตว์ทั้งหลายติดใจในกาม
ข้องด้วยกิเลสเครื่องข้องในกาม
ไม่เห็นโทษในสังโยชน์ ข้องในกิเลสเครื่องข้องคือสังโยชน์
จะพึงข้ามโอฆะอันกว้างใหญ่ไม่ได้เลย
ปฐมสัตตสูตรที่ 3 จบ

4. ทุติยสัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่ติดอยู่ในกาม สูตรที่ 2
[64] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในกรุงสาวัตถีโดยมาก
เป็นผู้ติดใจในกามทั้งหลาย เป็นผู้ยินดี รักใคร่ เพลิดเพลิน หลงใหล หมกมุ่น
มืดมน มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :312 }