เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 2. ทสสิกขาบท

6. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหาร
ในเวลาวิกาล1
7. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง
บรรเลงดนตรี และดูการละเล่นอันเป็น
ข้าศึกต่อกุศล2
8. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการทัดทรงประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
เครื่องลูบไล้3
9. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการนอนบนที่นอน
สูงและที่นอนใหญ่
10. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน

ทสสิกขาบท จบ

เชิงอรรถ :
1 เวลาวิกาล ในที่นี้หมายถึงเวลาที่เลยเที่ยงวันไป (ขุ.ขุ.อ. 2/27)
2 คำว่า “นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา” ในสิกขาบทนี้ แปลได้ 2 นัย คือ นัยที่ 1 แปลว่า “การดูการละเล่นอัน
เป็นข้าศึกต่อกุศลคือการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลงดนตรี” (ดู ที.สี. (แปล) 9/13/6 ประกอบ) นัยที่ 2
แปลว่า “การฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี และการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล” ในที่นี้แปล
ตามนัยที่ 2 คำว่า “ทัสสนา” มิได้จำกัดความหมายเพียงการดู การเห็นเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง
การฟัง การได้ยินด้วย คำว่า “ข้าศึกต่อกุศล” แปลจากคำว่า “วิสูกะ” หมายถึงเป็นเหตุทำลายกุศลธรรม
ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น และหมายถึงเป็นข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่อพระพุทธศาสนา
ในสิกขาบทนี้พึงทราบนัยเพิ่มเติมอีก 2 นัย คือ (1) จะจัดเป็นการล่วงละเมิดสิกขาบทได้ต่อเมื่อ
เข้าไปดูเพราะประสงค์จะเห็นเท่านั้น แต่ถ้าบังเอิญการละเล่นนั้นผ่านมาให้เห็นเองทางที่ตนยืน นั่ง หรือ
นอนอยู่ ไม่จัดเป็นการล่วงละเมิด จัดเป็นเพียงความเศร้าหมอง (2) เพลงขับร้อง(คีตะ)ที่ประกอบด้วย
ธรรม ถือเป็นความเหมาะสม ไม่ห้าม แต่ธรรมที่ประกอบเป็นเพลงขับร้อง ถือเป็นความไม่เหมาะสม
(ขุ.ขุ.อ. 2/27-28)
3 ดู สารตฺถ.ฏีกา 3/106/308

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :3 }