เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [6. ชัจจันธวรรค] 5. ทุติยนานาติตถิยสูตร
1. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก1เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
2. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกไม่เที่ยง2 นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
3. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
4. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง”
5. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
6. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
7. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
8. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
9. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

เชิงอรรถ :
1 คำว่า อัตตา และ โลก มีนัยดังนี้คือ นัยที่ 1 ทั้ง อัตตา และ โลก หมายถึงขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ นัยที่ 2 อัตตา หมายถึงอหังการวัตถุ คือเหตุให้เกิดมานะว่าเป็นเรา โลก หมายถึง
มมังการวัตถุ คือเหตุให้เกิดตัณหาว่าเป็นของเรา นัยที่ 3 อัตตา หมายถึงตนเอง โลก หมายถึงผู้อื่น
นัยที่ 4 อัตตา หมายถึงขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในอุปาทานขันธ์ 5 โลก หมายถึงสิ่งนอกจากขันธ์ 5 นัยที่ 5
อัตตา หมายถึงขันธสันดานที่มีวิญญาณ โลก หมายถึงขันธสันดานที่ไม่มีวิญญาณ คำว่า “อัตตาและ
โลกเที่ยง” นี้ ทรงมุ่งแสดงสัสสตวาทะ 4 ประการ (ขุ.อุ.อ. 55/369)
2 คำว่า “อัตตาและโลกไม่เที่ยง” นี้ ทรงมุ่งแสดงอุจเฉทวาทะ 7 ประการ (ขุ.อุ.อ. 55/369)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :295 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [6. ชัจจันธวรรค] 5. ทุติยนานาติตถิยสูตร
10. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
11. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็ใช่ ไม่ยั่งยืนก็ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
12. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ จะว่ายั่งยืนก็มิใช่ จะว่าไม่ยั่งยืนก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
13. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
14. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตาและ
โลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
15. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
16. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่
ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สมณพราหมณ์
และปริพาชกจำนวนมากผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน
มีความ ชอบใจแตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :296 }