เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [6. ชัจจันธวรรค] 2. สัตตชฏิลสูตร
มหาบพิตร กำลัง1 พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย และกำลังนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร ปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ดียิ่งนักว่า มหาบพิตร พระองค์เป็น
คฤหัสถ์ เป็นกามโภคี ครอบครองเรือนบรรทมเบียดพระโอรสและพระมเหสี ทรงใช้
สอยพระภูษาและเครื่องสำอางจากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
ทรงยินดีเงินและทอง ยากที่จะทรงรู้ได้ว่า ‘คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้
บรรลุอรหัตตมรรค’
มหาบพิตร ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้
ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยเจรจา และความสะอาดนั้นแลพึงรู้ได้โดย
ใช้เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่
ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร กำลัง พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย และกำลังนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่

เชิงอรรถ :
1 กำลัง ในที่นี้หมายถึงกำลังคือญาณ ผู้ที่ไม่มีกำลังคือญาณ เมื่อมีภัยเกิดขึ้น ก็ไม่เห็นสิ่งที่ควรยึดเหนี่ยว
และสิ่งที่จะต้องทำ ได้แต่หนีภัยไปอย่างเดียว (ขุ.อุ.อ.52/356)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :286 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [6. ชัจจันธวรรค] 2. สัตตชฏิลสูตร
มหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้
ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้น เป็นคนของข้าพระองค์ เป็นบุรุษสอดแนม
เป็นสายลับเที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันกลับมา ข้าพระองค์จะรู้เรื่องราว
หลังจากที่คนเหล่านั้นสืบมา บัดนี้ คนเหล่านั้นคงจะชำระล้างละอองธุลีนั้นแล้ว
อาบสะอาดดี ลูบไล้ผิวดีแล้ว ตัดผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่ม เพียบพร้อม
ด้วยกามคุณ 5 บำเรออินทรีย์ทั้งหลายอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
บรรพชิตไม่พึงพยายามในบาปกรรมทั้งปวง
ไม่พึงเป็นคนของผู้อื่น
ไม่พึงอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
และไม่พึงใช้ธรรมเป็นเครื่องค้าขาย1
สัตตชฏิลสูตรที่ 2 จบ

เชิงอรรถ :
1 ความหมายของพุทธอุทานนี้ คือ บรรพชิตไม่พึงพยายามทำตนดุจราชบุรุษ เช่น รับทำงานเดินข่าว เป็น
บุรุษสอดแนม เป็นต้น ไม่พึงเป็นเสวก(ข้าราชการในราชสำนัก)ด้วยรูปแบบของบรรพชิต ไม่พึงมีผู้อื่นเป็น
ที่พึ่ง แต่พึงมีตนเป็นที่พึ่งของตน และไม่พึงแสดงธรรมเพราะต้องการทรัพย์ (ขุ.อุ.อ. 52/358)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :287 }