เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [5. โสณเถรวรรค] 6. โสณสูตร
ประทับอยู่ในพระวิหารหลังเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
จะประทับอยู่ในพระวิหารหลังเดียวกับท่านพระโสณะ” จึงจัดเสนาสนะต้อนรับท่าน
พระโสณะในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงทรงล้างพระบาทแล้ว
เสด็จเข้าพระวิหาร ฝ่ายท่านพระโสณะก็อยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงล้างเท้าแล้วเข้าพระ-
วิหาร พอถึงเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้นแล้ว ทรงเชื้อเชิญท่านพระ
โสณะว่า “ภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัดเถิด1”
ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้สวดพระสูตรทั้งหมด 16 สูตร
ในอัฏฐกวรรค2 โดยทำนองสรภัญญะ
เมื่อท่านพระโสณะสวดทำนองสรภัญญะจบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม
อย่างยิ่ง จึงได้ประทานสาธุการว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเล่าเรียนสูตร 16 สูตรใน
อัฏฐกวรรคมาดีแล้ว จำได้แม่นยำดี เปล่งเสียงสวดได้ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีที่น่า
ตำหนิ บอกความหมายได้ชัดเจน เธอมีพรรษาเท่าไร”
ท่านพระโสณะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์บวชได้ 1 พรรษา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เพราะเหตุไร เธอจึงช้าอยู่เล่า”
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์เห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว
แต่ผู้อยู่ครองเรือนวุ่นวาย มีกิจมาก มีธุระมาก พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงจงกล่าวธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่เล่าเรียนมา (ขุ.อุ.อ.46/334)
2 ดู สุตตนิบาต ข้อ 773-982 หน้า 687-734 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :273 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [5. โสณเถรวรรค] 7. กังขาเรวตสูตร
พุทธอุทาน
อารยชนเห็นโทษในโลก1
รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิ2 จึงไม่ยินดีในบาป
เพราะคนบริสุทธิ์ย่อมไม่ยินดีในบาป3
โสณสูตรที่ 6 จบ

7. กังขาเรวตสูตร
ว่าด้วยพระกังขาเรวตเถระ
[47] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระกังขาเรวตะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ4ของตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระกังขาเรวตะผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรงพิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 โลก ในที่นี้หมายถึง สังขารโลก (ขุ.อุ.อ. 46/335)
2 ธรรมที่ไม่มีอุปธิ หมายถึงนิพพาน (ขุ.อุ.อ. 46/336)
3 วิ.ม. (แปล) 5/258/37
4 กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึงความบริสุทธิ์เพราะข้ามพ้นความสงสัยทั้งหมด (ขุ.อุ.อ. 47/337)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :274 }