เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 1. ยมกวรรค 7. เทวทัตตวัตถุ
6. มหากาลเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[7] มาร1ย่อมครอบงำบุคคลผู้พิจารณาเห็นความงาม2
ไม่สำรวมอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน
เหมือนพายุพัดต้นไม้ที่ไม่มั่นคงให้หักโค่นลงได้ ฉะนั้น
[8] มารย่อมไม่ครอบงำบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นความงาม
สำรวมอินทรีย์ดีแล้ว รู้จักประมาณในการบริโภค
มีศรัทธา และปรารภความเพียร
เหมือนพายุพัดโค่นภูเขาศิลาไม่ได้ ฉะนั้น

7. เทวทัตตวัตถุ
เรื่องพระเทวทัต
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัตที่ได้ผ้ากาสาวะมีราคามากจากแคว้น
คันธาระ จึงตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองราชคฤห์ ดังนี้)
[9] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด3
ปราศจากทมะและสัจจะ4

เชิงอรรถ :
1 มาร ในที่นี้หมายถึงกิเลสมาร (ขุ.ธ.อ. 1/66)
2 พิจารณาเห็นความงาม ในที่นี้หมายถึงอยู่อย่างปล่อยใจไปในอิฏฐารมณ์ เช่น ยึดถือว่าเล็บงาม นิ้วงาม
เท้างาม เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. 1/65)
3 กิเลสดุจน้ำฝาด หมายถึงกิเลสดุจน้ำย้อม ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ
(ความหลง) มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ความตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความ
ตระหนี่) มายา (มารยา) สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว)
อติมานะ (ความดูหมิ่น) มทะ (ความัวเมา) ปมาทะ (ความประมาท) อกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง กรรมนำ
สัตว์ไปเกิดในภพทั้งปวง และกิเลสพันห้า (ขุ.ธ.อ. 1/71, ขุ.ชา.อ. 3/141/199)
4 ในที่นี้ ทมะ หมายถึงการฝึกอินทรีย์ สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ (ขุ.ธ.อ. 1/72)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :26 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 1. ยมกวรรค 8. สัญชยวัตถุ
จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
ผู้นั้นไม่ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะเลย
[10] ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาด
ตั้งมั่นดีแล้วในศีล1 ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะได้2

8. สัญชยวัตถุ
เรื่องสัญชัยปริพาชก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[11] ชนเหล่าใดเห็นสิ่งที่ไม่มีสาระ3ว่ามีสาระ
และเห็นสิ่งที่มีสาระ4ว่าไม่มีสาระ
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีความดำริผิดเป็นทางปฏิบัติ
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่มีสาระ5
[12] ส่วนชนเหล่าใดที่รู้สิ่งที่มีสาระว่ามีสาระ
และรู้สิ่งที่ไม่มีสาระว่าไม่มีสาระ
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีความดำริชอบเป็นทางปฏิบัติ
ย่อมประสบสิ่งที่มีสาระ

เชิงอรรถ :
1 ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล 4 ประการ (ขุ.ธ.อ. 1/72)
2 ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/969-970/498, ขุ.ชา. (แปล) 27/141-142/102, 122-123/558
3 สิ่งที่ไม่มีสาระ หมายถึงปัจจัย 4 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 และธรรมเทศนาที่ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐินั้น (ขุ.ธ.อ.
1/101)
4 สิ่งที่มีสาระ หมายถึงสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10 และธรรมเทศนาที่ส่งเสริมสัมมาทิฏฐินั้น (ขุ.ธ.อ. 1/101)
5 สาระ ในที่นี้หมายถึงสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ ปรมัตถสาระ
และนิพพาน (ขุ.ธ.อ. 1/101)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :27 }