เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 1. ยมกวรรค 3. ติสสเถรวัตถุ
2. มัฏฐกุณฑลีวัตถุ
เรื่องนายมัฏฐกุณฑลี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อทินนปุพพกพราหมณ์บิดาของนาย
มัฏฐกุณฑลี ดังนี้)
[2] ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย
เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป
เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น1

3. ติสสเถรวัตถุ2
เรื่องพระติสสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[3] ชนเหล่าใด เข้าไปผูกเวรว่า
“คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป”
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบระงับ

เชิงอรรถ :
1 ความหมายของธรรมบทข้อที่ 2 นี้มีนัยตรงกันข้ามกับธรรมบทข้อที่ 1 ดูเทียบเชิงอรรถหน้า 23 และดู
ขุ.ธ.อ. 1/32-34 ประกอบ
2 ธรรมบทข้อ 3-6 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 5/464/354, ม.อุ. 14/237/203-204, ขุ.ชา. (แปล) 27/113-
115/220

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :24 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 1. ยมกวรรค 5. โกสัมพิกวัตถุ
[4] ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกเวรว่า
“คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป”
เวรของชนหล่านั้น ย่อมสงบระงับ

4. กาลียักขินีวัตถุ
เรื่องนางยักษ์ชื่อกาลี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางยักษ์ชื่อกาลีและหญิงคนหนึ่ง ดังนี้)
[5] เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร1
แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร2
นี้เป็นธรรมเก่า3

5. โกสัมพิกวัตถุ
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้ทะเลาะกัน ดังนี้)
[6] ชนเหล่าอื่น4ไม่รู้ชัดว่า “พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้”
ส่วนชนเหล่าใด5ในหมู่นั้น รู้ชัด
ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 เวรนั้นนอกจากจะไม่สงบระงับแล้วยังกลับเพิ่มพูนเวรต่อกันให้มากขึ้น เปรียบเหมือนการใช้น้ำสกปรก
ชำระล้างสิ่งสกปรกก็ยิ่งเพิ่มพูนความสกปรกมากขึ้นฉะนั้น (ขุ.ธ.อ. 1/45)
2 การไม่จองเวร หมายถึงธรรมคือขันติ(ความอดทน) เมตตา(ความรัก) โยนิโสมนิการ(การพิจารณาโดย
แยบคาย) และปัจจเวกขณะ(การพิจารณา) (ขุ.ธ.อ. 1/45)
3 เป็นธรรมเก่า หมายถึงเป็นทางปฏิบัติเพื่อสงบระงับเวรที่ประพฤติสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า พระ
ปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. 1/45)
4 ชนเหล่าอื่น หมายถึงคนที่สร้างความแตกแยกในหมู่ (ขุ.ธ.อ. 1/58)
5 ชนเหล่าใด หมายถึงบัณฑิต (ขุ.ธ.อ. 1/58/)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :25 }