เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 9. สิปปสูตร
บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยฉันทลักษณ์เลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวก
กล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยโลกายตศาสตร์เลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวกกล่าวว่า
‘ศิลปะว่าด้วยวิชากฎหมายเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันตรากถา
นี้แล ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายพูดค้างไว้ พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรมี
ศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วพากันสนทนาเรื่องอย่างนี้ ไม่สมควรเลย
เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันแล้วควรทำกิจเพียง 2 อย่าง คือ การกล่าวธรรม หรือ
ความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
ผู้ใดไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ เป็นอยู่เรียบง่าย
มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ สำรวมอินทรีย์
หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง1
ไม่ต้องแล่นไปในโอกะ2 ไม่มีการยึดถือว่าของเรา
ไม่มีความหวัง กำจัดมารได้แล้ว เที่ยวไปผู้เดียว
ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ
สิปปสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง หมายถึงหลุดพ้นจากภพเป็นต้น เพราะละสังโยชน์ทั้งหลายได้ด้วยอริยมรรค
4 ประการ (ขุ.อุ.อ. 29/217)
2 ไม่ต้องแล่นไปในโอกะ หมายถึงไม่ต้องแล่นไปในอำนาจของอายตนะทั้ง 6 ที่เรียกว่า “โอกะ” เพราะไม่
มีธรรมเครื่องแล่นไปคือตัณหา (ขุ.อุ.อ. 29/217)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :228 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 10. โลกสูตร
10. โลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์โลก
[30] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งโดย
บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา 7 วัน
ครั้นล่วงไป 7 วัน พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรงตรวจดู
สัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่สัตว์กำลังเดือดร้อนด้วยความทุกข์
มากมาย และถูกความเร่าร้อนหลากหลายที่เกิดจากราคะบ้าง เกิดจากโทสะบ้าง
เกิดจากโมหะบ้างรุมแผดเผาอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
สัตว์โลกนี้เกิดความเร่าร้อน ถูกทุกขเวทนากระทบแล้ว
กล่าวทุกขเวทนาว่าเป็นของตน
เพราะสัตว์โลกนี้สำคัญสิ่งใดว่าเที่ยง สิ่งนั้นกลับเป็นอย่างอื่น
สัตว์โลกมีภาวะไม่มั่นคง ติดอยู่ในภพ
หมกมุ่นอยู่ในภพ เพลิดเพลินอยู่ในภพ
ภพที่สัตว์โลกเพลิดเพลินจัดเป็นภัย
ภัยที่สัตว์โลกกลัว จัดเป็นทุกข์
บุคคลต้องบำเพ็ญพรหมจรรย์1นี้เท่านั้น เพื่อละภพให้ได้
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวถึงความหลุดพ้นจากภพด้วย
ภพ2เราถือว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดหาได้หลุดพ้นจากภพทั้งปวงไม่

เชิงอรรถ :
1 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมัคคพรหมจรรย์ (ขุ.อุ.อ. 30/222,42/298)
2 หมายถึงสมณะหรือพราหมณ์บางพวกถือว่า ความหลุดพ้นจากภพคือความบริสุทธิ์จากสังสารวัฏ จะมีได้ก็
ด้วยกามภพหรือรูปภพ (ขุ.อุ.อ. 30/223-224)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :229 }