เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 6. ปิลินทวัจฉสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง มีกายคตาสติที่ตั้งมั่นภายในตนอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
ภิกษุที่เจริญกายคตาสติแน่วแน่
สำรวมในผัสสายตนะทั้ง 6 มีจิตตั้งมั่นเสมอ
ก็จะพึงรู้การดับกิเลสของตนได้
มหาโมคคัลลานสูตรที่ 5 จบ

6. ปิลินทวัจฉสูตร
ว่าด้วยพระปิลินทวัจฉเถระ
[26] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน1
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า
คนถ่อย ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิลินทวัจฉะร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย
พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงไป
เรียกพระปิลินทวัจฉะมาหาเราว่า ท่านปิลินทวัจฉะ พระศาสดารับสั่งหาท่าน” ภิกษุ
รูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าว
กับท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “ท่านปิลินทวัจฉะ พระศาสดารับสั่งหาท่าน”

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 หน้า 178 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :220 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 6. ปิลินทวัจฉสูตร
ท่านพระปิลินทวัจฉะรับคำของภิกษุรูปนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามท่าน
ดังนี้ว่า “ปิลินทวัจฉะ ทราบว่า เธอร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย จริง
หรือ”
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงระลึกถึงอดีตชาติของท่านพระปิลินทวัจฉะแล้ว
รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าถือโทษวัจฉะเลย
วัจฉะหาได้มุ่งร้ายร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยไม่ วัจฉะเกิดในตระกูล
พราหมณ์ติดต่อกันไม่มีช่วงคั่นถึง 500 ชาติ การใช้วาทะว่าคนถ่อยนั้น เธอก็
ประพฤติมานานแล้ว เพราะฉะนั้น วัจฉะนี้จึงร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
ผู้ใดไม่มีมายา ไม่มีมานะ สิ้นโลภะแล้ว
ไม่มีการยึดถือว่าของเรา ไม่มีความหวัง1
ละความโกรธได้ มีจิตสงบเย็นยิ่งนัก
ผู้นั้นชื่อว่า พราหมณ์ สมณะ ภิกษุ2
ปิลินทวัจฉสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 ไม่มีความหวัง หมายถึงไม่มีความหวังที่จะเกิดในภพต่อ ๆ ไป (ขุ.อุ.อ. 26/205)
2 ดูเชิงอรรถที่ 3 หน้า 75 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :221 }