เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [2. มุจจลินทวรรค] 6. คัพภินีสูตร
ครั้งนั้น ปริพาชกนั้นได้ไปยังท้องพระคลังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ดื่มน้ำมัน
จนพอแล้วกลับมาเรือน ไม่สามารถนำออกข้างบน (ทางปาก) ได้ ไม่สามารถนำออก
ข้างล่าง(ถ่ายออก)ได้ เขาได้รับทุกขเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน จึงกระสับ-
กระส่าย นอนกลิ้งไปมา
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้ทอดพระเนตรเห็นปริพาชกนั้นได้รับ
ทุกขเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน กระสับกระส่าย นอนกลิ้งไปมา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
คนทั้งหลายผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ย่อมเป็นผู้มีความสุขแท้จริง
ก็คนทั้งหลาย ที่เป็นผู้จบเวท1
ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ท่านจงดูคนที่มีกิเลสเครื่องกังวลกำลังเดือดร้อนอยู่
เพราะคนที่มีความผูกพันกับคนอื่นย่อมเดือดร้อน
คัพภินีสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 จบเวท ในที่นี้หมายถึงบรรลุอริยมัคคญาณ หรือบรรลุนิพพาน (ขุ.อุ.อ. 16/123)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :197 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [2. มุจจลินทวรรค] 7. เอกปุตตกสูตร
7. เอกปุตตกสูตร
ว่าด้วยอุบาสกมีบุตรน้อยคนเดียว
[17] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น บุตรน้อยคนเดียวของอุบาสกคนหนึ่ง
ผู้น่ารัก น่าพอใจ ได้ตายจากไป
ครั้งนั้น อุบาสกจำนวนมากมีผ้าเปียก ผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับในเวลาเที่ยงวัน ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับอุบาสกเหล่านั้นดังนี้ว่า “อุบาสกทั้งหลาย มีเรื่อง
อะไรหรือ ท่านทั้งหลายมีผ้าเปียก ผมเปียก เข้ามาที่นี่ในเวลาเที่ยงวัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อุบาสกนั้นจึงกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค บุตรน้อยคนเดียวของข้าพระองค์ ผู้น่ารัก น่าพอใจ ได้ตายจากไป
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงมีผ้าเปียก ผมเปียก เข้ามาที่นี่ในเวลาเที่ยงวัน
พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก
พากันเพลิดเพลินยึดติดในรูปที่น่ารัก
จึงระทมทุกข์ เสื่อมหมดสิ้น1
ตกอยู่ในอำนาจของมัจจุราช

เชิงอรรถ :
1 เสื่อมหมดสิ้น หมายถึงเสื่อมจากสมบัติ (ขุ.อุ.อ.17/125)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :198 }