เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [2. มุจจลินทวรรค] 2. ราชสูตร
พุทธอุทาน1
วิเวก2เป็นความสุขของผู้สันโดษ3
ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่
ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้4 เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะได้5 เป็นสุขอย่างยิ่ง6
มุจจลินทสูตรที่ 1 จบ

2. ราชสูตร
ว่าด้วยอานุภาพของพระราชา
[12] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตหลังจาก
ฉันอาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุมพร้อมกันในอุปัฏฐานศาลา7ได้สนทนาอันตรากถา8
ขึ้นว่า “ท่านทั้งหลาย บรรดาพระราชา 2 พระองค์นี้ คือ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ

เชิงอรรถ :-
1 พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงอานุภาพแห่งวิเวกสุข (ขุ.อุ.อ. 11/105)
2 วิเวก ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. 11/104)
3 ผู้สันโดษ ในที่นี้หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ 4 (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิ-
มัคคญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. 11/105)
4 ความล่วงกามทั้งหลายได้ หมายถึงอนาคามิมรรค (ขุ.อุ.อ. 11/106)
5 ความกำจัดอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตต์ (ขุ.อุ.อ. 11/106)
6 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/5/8-9, อภิ.ก.37/338/183
7 อุปัฏฐานศาลา แปลว่าศาลาเป็นที่บำรุงหรือหอฉัน ในที่นี้หมายถึง มณฑปแสดงธรรม คือ เมื่อพระผู้มี
พระภาคเสด็จมาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่มณฑปนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้ถวายอุปัฏฐากพระองค์ ด้วยเหตุนี้
จึงเรียกว่า อุปัฏฐานศาลา ใช้เป็นที่ประชุมสนทนาธรรม วินิจฉัยวินัย และแสดงธรรมของภิกษุทั้งหลาย
(ขุ.อุ.อ. 12/106)
8 อันตรากถา หมายถึงการพูดคุยนอกเรื่องการเจริญกัมมัฏฐานเป็นต้น หรือพูดคุยระหว่างรอการฟังธรรม
(ขุ.อุ.อ. 12/106)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :190 }