เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [1. โพธิวรรค] 9. ชฏิลสูตร
พุทธอุทาน1
ผู้ไม่ใยดีอดีตภรรยาผู้มาหา
ไม่เศร้าโศกถึงอดีตภรรยาผู้จากไป
เราเรียกผู้ชนะสงคราม ผู้พ้นจากกิเลสเครื่องข้องแล้ว2 ว่าพราหมณ์
สังคามชิสูตรที่ 8 จบ

9. ชฏิลสูตร
ว่าด้วยพวกชฎิล
[9] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คยาสีสบรรพต ใกล้หมู่บ้านคยา
สมัยนั้น เป็นฤดูหนาว มีหิมะตก 8 วัน ในช่วงกลางคืนอากาศหนาวเหน็บ
ชฎิลจำนวนมาก ผุดขึ้นบ้าง ดำลงบ้าง ทั้งผุดขึ้นและดำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้าง
ที่แม่น้ำคยาด้วยคิดว่า “ด้วยวิธีนี้จะบริสุทธิ์”
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชฎิลจำนวนมากผุดขึ้นบ้าง ดำลงบ้าง
ทั้งผุดขึ้นและดำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้างที่แม่น้ำคยาด้วยคิดว่า “ด้วยวิธีนี้จะ
บริสุทธิ์”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงความเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ (ขุ.อุ.อ. 8/77)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 หน้า 149 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [1. โพธิวรรค] 10. พาหิยสูตร
พุทธอุทาน1
บุคคลจะเป็นผู้สะอาดเพราะน้ำ
ที่คนจำนวนมากพากันไปอาบก็หาไม่
ผู้ใดมีสัจจะ2และธรรม3
ผู้นั้นชื่อว่า เป็นผู้สะอาด และผู้นั้นชื่อว่า เป็นพราหมณ์
ชฏิลสูตรที่ 9 จบ

10. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยเถระ
[10] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น บุรุษชื่อพาหิยะ ทารุจีริยะ4อาศัยอยู่ ณ
ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งทะเล มีคนจำนวนมากพากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้น
เมื่อพาหิยะ ทารุจีริยะอยู่ในที่ลับหลีกเร้นอยู่5 เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เราเป็น
คนหนึ่งในบรรดาคนในโลกที่เป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นผู้บรรลุอรหัตตมรรค”

เชิงอรรถ :
1 พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงว่าความสะอาดเพราะน้ำมิใช่ทางแห่งความบริสุทธิ์ของสัตว์ และแสดงว่า
ธรรมทั้งหลายมีสัจจะเป็นต้นเท่านั้นที่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ที่แท้จริงของสัตว์ (ขุ.อุ.อ. 9/79)
2 สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ และวิรัติสัจจะ (ขุ.อุ.อ. 9/80)
3 ธรรม หมายถึงอริยมรรคและอริยผล (ขุ.อุ.อ. 9/80)
4 ที่ชื่อว่า พาหิยะ เพราะเกิดในแคว้นพาหิยะ ที่ชื่อว่า ทารุจีริยะ เพราะเป็นผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้ พาหิยะ
ทารุจีริยะนี้เคยตั้งความปรารถนาว่าขอให้ตรัสรู้เร็วพลัน ในศาสนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า (ขุ.อุ.อ.
10/81-82)
5 หลีกเร้นอยู่ หมายถึงการอยู่ผู้เดียว การอยู่โดยเพ่งพินิจธรรม หรืออยู่ด้วยผลสมาบัติ อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (วิ.อ. 1/22/204, สํ.สฬา.อ. 3/87/20,
องฺ.ฉกฺก.อ. 3/17/106-107) แต่ในที่นี้เป็นเพียงกิริยาเลียนแบบด้วยประสงค์จะให้เขายกย่องว่าเป็นพระ
อรหันต์ (ขุ.อุ.อ. 10/84)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :183 }