เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 26. พราหมณวรรค 36. ทุติยนฏปุพพกเถรวัตถุ
35. ปฐมนฏปุพพกเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 1
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[417] ผู้ละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ได้1
ล่วงพ้นกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากโยคะ2ทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์

36. ทุติยนฏปุพพกเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 2
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[418] ผู้ละทั้งความยินดี3และความไม่ยินดี4
เป็นผู้เยือกเย็น หมดอุปธิกิเลส
ครอบงำโลกทั้งหมด5 เป็นผู้แกล้วกล้า
เราเรียกว่า พราหมณ์

เชิงอรรถ :
1 กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ หมายถึงอายุและกามคุณ 5 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)
อันเป็นของมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. 8/164)
2 ดูเชิงอรรถที่ 6 หน้า 31 ในเล่มนี้
3 ความยินดี หมายถึงความยินดีในกามคุณ 5 (ขุ.ธ.อ. 8/165)
4 ความไม่ยินดี หมายถึงความระอาในการอยู่ป่า (ขุ.ธ.อ. 8/165)
5 ครอบงำโลกทั้งหมด หมายถึงครอบงำโลกคือขันธ์ 5 (ขุ.ธ.อ. 8/165)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :166 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 26. พราหมณวรรค 38. ธัมมทินนาเถรีวัตถุ
37. วังคีสเถรวัตถุ
เรื่องพระวังคีสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[419] ผู้ใดรู้การจุติและการอุบัติ
ของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้ไม่ติดข้อง
ไปดีแล้ว และตรัสรู้แล้วว่า พราหมณ์
[420] ผู้ใดมีคติที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ก็รู้ไม่ได้
เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นอรหันตขีณาสพว่า พราหมณ์

38. ธัมมทินนาเถรีวัตถุ
เรื่องพระธัมมทินนาเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่วิสาขอุบาสก อดีตสามีของพระธัมมทินนาเถรี
ดังนี้)
[421] ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล1
ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นว่า พราหมณ์

เชิงอรรถ :
1 กิเลสเครื่องกังวล หมายถึงความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา (ขุ.ธ.อ. 8/189)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :167 }