เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 18. มลวรรค 6. จูฬสาริภิกขุวัตถุ
5. อัญญตรกุลปุตตวัตถุ
เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่กุลบุตรคนหนึ่งซึ่งมีภรรยามักนอกใจ ดังนี้)
[242] สตรีมีความประพฤติชั่ว1เป็นมลทิน
ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
บาปธรรม2เป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[243] มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา3
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมลทินนั้นให้ได้
แล้วเป็นอยู่อย่างผู้ปราศจากมลทินเถิด

6. จูฬสาริภิกขุวัตถุ
เรื่องจูฬสารีภิกษุ
(พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพระจูฬสารีผู้เป็นหมอปรุงยาให้ชาวบ้านเพื่อแลกกับ
โภชนะ จึงตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[244] ผู้ไม่มีความละอาย กล้าเหมือนกา
ชอบทำลายคนอื่น ชอบเอาหน้า
มีความคะนอง มีพฤติกรรมสกปรก เป็นอยู่สบาย
[245] ส่วนผู้มีความละอาย
แสวงหาความบริสุทธิ์เป็นนิตย์
ไม่เกียจคร้าน ไม่มีความคะนอง
มีอาชีพบริสุทธิ์ และมีปัญญา เป็นอยู่ลำบาก

เชิงอรรถ :
1 ประพฤติชั่ว หมายถึงการประพฤตินอกใจสามี (ขุ.ธ.อ. 7/14, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/15-18/279)
2 บาปธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลธรรมทั้งหมด (ขุ.ธ.อ. 7/15)
3 ดู องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/15/241-242

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :108 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 18. มลวรรค 8. ติสสทหรวัตถุ
7. ปัญจอุปาสกวัตถุ
เรื่องอุบาสก 5 คน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อุบาสก 5 คน ดังนี้)
[246] นรชนใดในโลก ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ
[247] และหมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย1
นรชนนั้นชื่อว่า ขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุน2ของตนในโลกนี้
[248] ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ผู้มีบาปธรรมทั้งหลาย มักไม่สำรวม
ขอโลภะและอธรรม3 อย่าย่ำยีท่านให้เป็นทุกข์ตลอดกาลนานเลย

8. ติสสทหรวัตถุ
เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระติสสะเที่ยวติเตียนทานของคนอื่น จึงตรัสพระ
คาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[249] บุคคลย่อมให้ทานตามความเชื่อตามความเลื่อมใส
ภิกษุไม่พอใจในข้าวและน้ำที่เป็นทานของคนอื่นนั้น
ย่อมไม่บรรลุสมาธิ4ในเวลากลางวันหรือกลางคืน
[250] ส่วนภิกษุผู้ตัดอกุศลจิตนี้ได้
ถอนขึ้นทำให้รากขาดแล้ว
ย่อมบรรลุสมาธิในเวลากลางวันหรือกลางคืน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/174/291
2 ขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุน หมายถึงนำที่นาและสวนไปจำนอง หรือขายขาด เพื่อนำทรัพย์ไปซื้อสุรามาดื่ม
(ขุ.ธ.อ. 7/19)
3 อธรรม หมายถึงโทสะ (ขุ.ธ.อ. 7/20)
4 สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ หรือมัคคสมาธิ และผลสมาธิ (ขุ.ธ.อ. 7/22)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :109 }