เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. อุปาลิวรรค 2. ปาติโมกขัฏฐปนาสูตร
9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
10. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย1
อุบาลี ตถาคตบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่เหล่าสาวกโดยอาศัย
อำนาจประโยชน์ 10 ประการนี้แล
อุปาลิสูตรที่ 1 จบ

2. ปาติโมกขัฏฐปนาสูตร
ว่าด้วยเหตุงดสวดปาติโมกข์
[32] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุงดสวดปาติโมกข์
มีเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี เหตุงดสวดปาติโมกข์ 10 ประการ
เหตุงดสวดปาติโมกข์ 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
2. กถาว่าด้วยปาราชิกยังทำค้างอยู่
3. อนุปสัมบันนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
4. กถาว่าด้วยอนุปสัมบันยังทำค้างอยู่
5. ผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
6. กถาว่าด้วยผู้บอกลาสิกขายังทำค้างอยู่

เชิงอรรถ :
1 ข้อ 1, 2 ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม คือสงฆ์
ข้อ 3, 4 ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่บุคคล
ข้อ 5, 6 ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์หรือแก่ชีวิต
ข้อ 7, 8 ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน
ข้อ 9, 10 ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา
ข้อ 10 คำว่า “เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย” หมายถึงเพื่อเชิดชูค้ำจุนประคับประคองพระวินัย 4 อย่าง คือ สังวรวินัย
ปหานวินัย สมถวินัย บัญญัติวินัย (วิ.อ. 1/39/236-7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :82 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. อุปาลิวรรค 3. อุพพาหิกาสูตร
7. บัณเฑาะก์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
8. กถาว่าด้วยบัณเฑาะก์ยังทำค้างอยู่
9. ผู้ประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
10. กถาว่าด้วยผู้ประทุษร้ายภิกษุณียังทำค้างอยู่
อุบาลี เหตุงดสวดปาติโมกข์ 10 ประการนี้แล”
ปาติโมกขัฏฐปนาสูตรที่ 2 จบ

3. อุพพาหิกาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์
[33] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์พึงสมมติ1ให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์2ได้
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา-
บททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงาม
ในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ

เชิงอรรถ :
1 สมมติ ในที่นี้หมายถึงการที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทำกิจหรือเป็น
เจ้าหน้าที่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2 อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี 4 อย่าง คือ (1) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (2) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (3) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติและการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (4) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่นให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. 2/15/12, องฺ.ทสก.อ. 3/33/345)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :83 }