เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 10. ทุติยโกสลสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นความ
กตัญญูกตเวที จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่ง เช่นนี้ในพระผู้มี
พระภาคเพราะ
1. พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อเกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก ทรงให้คนหมู่มากดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือความเป็นผู้
มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตา
อย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
2. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ มีศีลอันประเสริฐ มีศีลอัน
เป็นกุศล ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยกุศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่ง
เช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
3. พระผู้มีพระภาคทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ทรงอยู่อาศัยเสนาสนะอัน
สงัดซึ่งตั้งอยู่ในแนวป่าตลอดกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่าง
ยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
4. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็น
อำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่น
นี้ในพระผู้มีพระภาค
5. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความ
นอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :77 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 10. ทุติยโกสลสูตร
6. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต1 คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย)
สันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคค-
กถา(เรื่องความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
7. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
8. พระผู้มีพระภาคทรงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง
20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง
1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์

เชิงอรรถ :
1 เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. 3/1/285) ในที่นี้บาลีเป็น “เจโตวิจรณสปฺปายา” แต่ในฉบับภาษาอังกฤษ
และฉบับฉัฏฐสังคีติ เป็น “เจโตวิวรณสปฺปายา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :78 }