เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น
เมื่อเบื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ก็คลายกำหนัดในปฏิปทาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงภาวะที่ด้อยกว่า (6)

สัญญา 4 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 4 ประการนี้
สัญญา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปริตตารมณ์1
2. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดมหัคคตารมณ์2
3. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอัปปมาณารมณ์3
4. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากิญจัญญายตนฌาน4ว่า ‘ไม่มีอะไร’
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 4 ประการนี้แล
บรรดาสัญญา 4 ประการนี้ อากิญจัญญายตนฌานที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดว่า
‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัญญาอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญานั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสัญญานั้น ก็คลาย
กำหนัดแม้ในสัญญาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (7)

เชิงอรรถ :
1 ปริตตารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ยังไม่ได้ขยายให้กว้างออกไป มีขนาดเพียงเท่ากระด้ง
หรือถ้วยชาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/271, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/303) หรือหมายถึงธรรมชั้นกามาวจร
ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ 34 ข้อ 1026, 1029,1417 หน้า 264-265,349
2 มหัคคตารมณ์ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม
กิเลสได้และเพราะเป็นอารมณ์ที่สืบต่อกันมานาน และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่
(อภิ.สงฺ.อ. 12/92)
3 อัปปมาณารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/
271, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/304) หรือหมายถึงธรรมชั้นโลกุตตระ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ 34 ข้อ 1028 หน้า 265 ข้อ 1419 หน้า 350
4 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 6 (สมาธิสูตร) หน้า 9 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
บรรดาวาทะนอกศาสนา วาทะว่า ‘ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว อัตภาพนี้ก็ไม่พึงมี
แก่เรา ถ้าเราจักไม่มี ความกังวลอะไรจักไม่มีแก่เรา’ นี้เป็นเลิศ บุคคลผู้มีวาทะ
อย่างนี้ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบ
ในความดับภพ จักไม่มีแก่เขา สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้น
สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวาทะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในวาทะนั้น ก็
คลายกำหนัดในวาทะซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (8)
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความหมดจดในสัตว์ชั้นสูงสุดมีอยู่ บุคคลผู้ที่
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นี้เลิศกว่าสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติความหมดจดในสัตว์ชั้นสูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น
รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งเนว-
สัญญานาสัญญายตนฌานนั้น สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้น
สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เมื่อ
เบื่อหน่ายในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ก็คลายกำหนัดในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (9)
ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน
มีอยู่ ความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดผัสสายตนะ 6 ประการ ตามความเป็นจริง นี้เลิศกว่าสมณ-
พราหมณ์ผู้บัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อม
กล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริง คำเปล่า คำเท็จ คำไม่เป็น
จริงว่า ‘พระสมณโคดมไม่บัญญัติการกำหนดรู้กาม รูป และเวทนาทั้งหลาย’ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราบัญญัติการกำหนดรู้กาม รูป และเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจาก
ตัณหาและมิจฉาทิฏฐิแล้ว ดับแล้ว เยือกเย็นแล้ว จึงบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานใน
ปัจจุบัน (10)
ปฐมโกสลสูตรที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :75 }