เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น
เมื่อเบื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ก็คลายกำหนัดในปฏิปทาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงภาวะที่ด้อยกว่า (6)

สัญญา 4 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 4 ประการนี้
สัญญา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปริตตารมณ์1
2. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดมหัคคตารมณ์2
3. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอัปปมาณารมณ์3
4. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากิญจัญญายตนฌาน4ว่า ‘ไม่มีอะไร’
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 4 ประการนี้แล
บรรดาสัญญา 4 ประการนี้ อากิญจัญญายตนฌานที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดว่า
‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัญญาอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญานั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสัญญานั้น ก็คลาย
กำหนัดแม้ในสัญญาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (7)

เชิงอรรถ :
1 ปริตตารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ยังไม่ได้ขยายให้กว้างออกไป มีขนาดเพียงเท่ากระด้ง
หรือถ้วยชาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/271, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/303) หรือหมายถึงธรรมชั้นกามาวจร
ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ 34 ข้อ 1026, 1029,1417 หน้า 264-265,349
2 มหัคคตารมณ์ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม
กิเลสได้และเพราะเป็นอารมณ์ที่สืบต่อกันมานาน และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่
(อภิ.สงฺ.อ. 12/92)
3 อัปปมาณารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/
271, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/304) หรือหมายถึงธรรมชั้นโลกุตตระ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ 34 ข้อ 1028 หน้า 265 ข้อ 1419 หน้า 350
4 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 6 (สมาธิสูตร) หน้า 9 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :74 }