เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ 10 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ 10 ประการนี้
บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่
มีประมาณ
2. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ ...
3. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ ...
4. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ ...
5. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ ...
6. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ ...
7. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ ...
8. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ ...
9. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ ...
10. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง
ไม่มีประมาณ
ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ 10 ประการนี้แล
บรรดาบ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ 10 ประการนี้ วิญญาณกสิณ
เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดนี้ เป็นเลิศ
สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญา อย่างนี้แลมีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา
อย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่งกสิณนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในบ่อเกิด
แห่งกสิณนั้น ก็คลายกำหนัดแม้ในวิญญาณกสิณที่เลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงกสิณที่
ด้อยกว่า (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :70 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
อภิภายตนะ 8 ประการ1
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ 8 ประการนี้
อภิภายตนะ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน2 เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ 1
2. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ 2
3. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน3 เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ 3
4. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ 4
5. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว

เชิงอรรถ :
1 อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ 5 และ
อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และชื่อว่า อายตนะ
เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/65/270, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/302, ที.ม.อ. 173/164)
2 มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน ที่ยังไม่ถึงอัปปนา (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/65/270)
3 มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากการบริกรรมในรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/65/271)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :71 }