เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า
‘ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1 ฯลฯ ปัญหา 10 อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’
นั้นเราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายยังจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบ
ทูลสอบถามเนื้อความนี้ดูเถิด พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด
ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนี้ไว้อย่างนั้นเถิด”
พวกอุบาสกชาวกชังคละรับคำแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของภิกษุณี
ชาวเมืองกชังคละแล้วลุกจากอาสนะ ไหว้แล้ว ทำประทักษิณ1 เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูล
ถ้อยคำสนทนากับภิกษุณีชาวเมืองกชังคละทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ คหบดีทั้งหลาย ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละ
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านทั้งหลายมาถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็จะพึง
ตอบเนื้อความนี้เหมือนภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้ตอบแล้ว และเนื้อความของคำ
นั้นก็มีความหมายเช่นนี้แล ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
ทุติยมหาปัญหาสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ 1
[29] ภิกษุทั้งหลาย ชนบทของชาวกาสีและโกศลประมาณเท่าใด แว่นแคว้น
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศลอันพสกนิกรเรียกว่า
เป็นผู้เลิศในชนบทของชาวกาสีและโกศล และแว่นแคว้นเหล่านั้นประมาณเท่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา โดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นผู้ที่
ตนเคารพนั้น คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. 1/15/176-7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :68 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
ถึงกระนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังมีความแปร1มีความแปรผัน2ไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสมบัตินั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสมบัตินั้น
ก็คลายกำหนัดในความเป็นพระราชาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงสมบัติที่
ด้อยกว่า (1)
ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมหมุนเวียนส่องทิศทั้งหลายให้
สว่างอยู่ในที่ประมาณเท่าใด สหัสสธาโลกธาตุ3มีอยู่ในที่ประมาณเท่านั้น ใน
สหัสสธาโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ 1,000 ดวง มีดวงอาทิตย์ 1,000 ดวง มีขุนเขา
สิเนรุ 1,000 ลูก มีชมพูทวีป 1,000 มีอปรโคยานทวีป 1,000 มีอุตตรกุรุทวีป
1,000 มีปุพพวิเทหทวีป 1,000 มีมหาสมุทร 4,000 มีท้าวมหาราช 4,000
มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช 1,000 มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ 1,000 มีเทวโลกชั้นยามา
1,000 มีเทวโลกชั้นดุสิต 1,000 มีพรหมโลก 1,000 สหัสสธาโลกธาตุประมาณ
เท่าใด ท้าวมหาพรหม อันชาวโลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศในสหัสสธาโลกธาตุประมาณ
เท่านั้น ถึงกระนั้นท้าวมหาพรหมก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวก
ผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น เมื่อเบื่อหน่าย
ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น ก็คลายกำหนัดในความเป็นท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นเลิศ
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (2)
สมัยที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมบังเกิดในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระโดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้บังเกิดด้วยอำนาจฌาน มีปีติเป็นภักษา มี
รัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ มีปกติดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระนั้นตลอดกาลช้านาน เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรพรหมทั้งหลาย อันชาว
โลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ ถึงกระนั้นอาภัสสรพรหมทั้งหลายก็ยังมีความแปร มีความ
แปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น ก็คลายกำหนัดในความ
เป็นอาภัสสรพรหมซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (3)

เชิงอรรถ :
1 ความแปร (อัญญถัตตะ) ในที่นี้หมายถึงความเปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม ได้แก่ชรา (องฺ.ติก.
อ. 2/47/154)
2 ความแปรผัน (วิปริณามะ) ในที่นี้หมายถึงความตาย (องฺ.ทสก.อ. 3/29/338)
3 สหัสสธาโลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุที่มี 1,000 จักรวาล ดูอังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ 20 ข้อ 81
หน้า 306

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :69 }