เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 8. ทุติยมหาปัญหาสูตร
คืออะไร คือ โพชฌงค์1 7 ... ธรรม 8 ประการคืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์2 8
ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดย
ชอบในธรรม 8 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรง
อาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา 8 อุทเทส 8 ไวยากรณ์ 8’
พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 9 อุทเทส 9 ไวยากรณ์ 9’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม 9 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม 9 ประการคืออะไร คือ สัตตาวาส 9 ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์
โดยชอบในธรรม 9 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะ
ทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา 9 อุทเทส 9 ไวยากรณ์ 9’
พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 10 อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน
อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม 10
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม 10 ประการคืออะไร
คือ กุศลกรรมบถ3 10 ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดย
ชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม 10 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์
ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา 10
อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/330/221, อภิ.วิ. 35/466-471/274-276
2 ดู ที.ม. 10/402/266-267, ม.อุ. 14/375/319, อภิ.วิ. 35/486-9/283-285
3 ดู ที.ปา. 11/347/238, 360/279

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :67 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า
‘ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1 ฯลฯ ปัญหา 10 อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’
นั้นเราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายยังจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบ
ทูลสอบถามเนื้อความนี้ดูเถิด พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด
ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนี้ไว้อย่างนั้นเถิด”
พวกอุบาสกชาวกชังคละรับคำแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของภิกษุณี
ชาวเมืองกชังคละแล้วลุกจากอาสนะ ไหว้แล้ว ทำประทักษิณ1 เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูล
ถ้อยคำสนทนากับภิกษุณีชาวเมืองกชังคละทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ คหบดีทั้งหลาย ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละ
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านทั้งหลายมาถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็จะพึง
ตอบเนื้อความนี้เหมือนภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้ตอบแล้ว และเนื้อความของคำ
นั้นก็มีความหมายเช่นนี้แล ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
ทุติยมหาปัญหาสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ 1
[29] ภิกษุทั้งหลาย ชนบทของชาวกาสีและโกศลประมาณเท่าใด แว่นแคว้น
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศลอันพสกนิกรเรียกว่า
เป็นผู้เลิศในชนบทของชาวกาสีและโกศล และแว่นแคว้นเหล่านั้นประมาณเท่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา โดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นผู้ที่
ตนเคารพนั้น คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. 1/15/176-7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :68 }