เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 8. ทุติยมหาปัญหาสูตร
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 9 อุทเทส 9 ไวยากรณ์ 9’ เพราะอาศัยอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดย
ชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม 9
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม 9 ประการคืออะไร คือ
สัตตาวาส 91 ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ
มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม 9 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา 9 อุทเทส 9
ไวยากรณ์ 9’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 10 อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’ เพราะ
อาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์
โดยชอบในธรรม 10 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม 10
ประการคืออะไร คือ อกุศลกรรมบถ2 10 ประการ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ
คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์
โดยชอบในธรรม 10 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะ
อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา 10 อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมมหาปัญหาสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาใหญ่ สูตรที่ 2
[28] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้กชังคลนิคม
ครั้งนั้น อุบาสกชาวกชังคละเป็นอันมากเข้าไปหาภิกษุณีชาวกชังคละถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุณีชาวเมืองกชังคละดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/341/232,359/272
2 ดู ที.ปา. 11/347/238,360/278, องฺ.ทสก. 24/176/216

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :64 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 8. ทุติยมหาปัญหาสูตร
“ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาสูตรทั้งหลายว่า
‘ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1 ปัญหา 2 อุทเทส 2 ไวยากรณ์ 2 ปัญหา 3
อุทเทส 3 ไวยากรณ์ 3 ปัญหา 4 อุทเทส 4 ไวยากรณ์ 4 ปัญหา 5 อุทเทส 5
ไวยากรณ์ 5 ปัญหา 6 อุทเทส 6 ไวยากรณ์ 6 ปัญหา 7 อุทเทส 7 ไวยากรณ์ 7
ปัญหา 8 อุทเทส 8 ไวยากรณ์ 8 ปัญหา 9 อุทเทส 9 ไวยากรณ์ 9 ปัญหา 10
อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10’ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ”
ภิกษุณีชาวกชังคละตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้ เราได้สดับรับมา
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับมาเฉพาะหน้าของ
ภิกษุทั้งหลายผู้ได้อบรมใจก็หามิได้ แต่ว่าเนื้อความแห่งพระดำรัสนี้ปรากฏแก่เรา
อย่างไร ท่านทั้งหลายก็จงฟังเนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นอย่างนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำของภิกษุณีชาวเมืองกชังคละแล้ว
ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้กล่าวดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายุ
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม 1 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม 1 ประการคืออะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม 1 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน
ปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา 1 อุทเทส 1
ไวยากรณ์ 1’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 2 อุทเทส 2 ไวยากรณ์ 2’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม 2 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม 2 ประการคืออะไร คือ นามและรูป ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :65 }