เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 7. ปฐมมหาปัญหาสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป
บิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด’
ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวง
แล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนา
ของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับ
อนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร” ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้
เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1
ปัญหา 2 อุทเทส 2 ไวยากรณ์ 2 ปัญหา 3 อุทเทส 3 ไวยากรณ์ 3 ปัญหา 4
อุทเทส 4 ไวยากรณ์ 4 ปัญหา 5 อุทเทส 5 ไวยากรณ์ 5 ปัญหา 6 อุทเทส 6
ไวยากรณ์ 6 ปัญหา 7 อุทเทส 7 ไวยากรณ์ 7 ปัญหา 8 อุทเทส 8 ไวยากรณ์ 8
ปัญหา 9 อุทเทส 9 ไวยากรณ์ 9 ปัญหา 10 อุทเทส 10 ไวยากรณ์ 10 เป็น
อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่สามารถ
ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามปัญหาอันมิใช่วิสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :60 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 7. ปฐมมหาปัญหาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วย
การตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวก
ของตถาคตนี้
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม 1 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม 1 ประการคือ
อะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ
ในธรรม 1 ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่
เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา 1 อุทเทส 1 ไวยากรณ์ 1’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 2 อุทเทส 2 ไวยากรณ์ 2’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม 2 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม 2 ประการคือ
อะไร คือ นามและรูป ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้น
โดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม 2 ประการ
นี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา
2 อุทเทส 2 ไวยากรณ์ 2’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา 3 อุทเทส 3 ไวยากรณ์ 3’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม 3 ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม 3 ประการคือ
อะไร คือ เวทนา 31 ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้น

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/305/194, สํ.สฬา. 18/270/212

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :61 }